เงินบาทไตรมาส 4 ร่วงกว่า 7% ผลตอบแทนแย่สุดในทวีปเอเชีย วานนี้ดิ่งต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือน มองปัจจัยแรงกดดันอิสระภาพแบงก์ชาติ

เงินบาท ไตรมาส 4 ร่วงกว่า 7% ผลตอบแทนแย่สุดในทวีปเอเชีย วานนี้ดิ่งต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือน มองปัจจัยแรงกดดันอิสระภาพแบงก์ชาติ

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในเอเชีย รายงานว่า ปิดตลาดเมื่อวานนี้ 12 พฤศจิกายน 2024 เงินบาทเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐปิดที่ระดับ 34.739 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ไม่เพียงส่งผลเป็นค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคมผ่านมา หรือในรอบเกือบ 3 เดือน แต่ยังเป็นสกุลเงินที่ร่วงอ่อนค่ามากกว่าทุกสกุลเงินในแอบเอเชีย ที่สำคัญ ส่งผลให้เงินบาทในไตรมาสที่ 4 หรือในปัจจุบัน ดำดิ่งอ่อนค่ามากกว่า 7% กลายเป็นเงินบาทที่ให้ผลตอบแทนรายไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุดในทวีปเอเชียด้วย

นักวิเคราะห์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินจากสถาบันการเงิน แชนดินาวิสก้า เอ็นสกิลด้า แบงก์เคน เอบี ในสิงคโปร์ เปิดเผยว่า นักลงทุนมีข้อสงสัย และตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารกลางประเทศไทย นับตั้งแต่ทาทีจากฝ่ายการเมืองและรัฐบาลในการกดดันให้ธนาคารประเทศไทยปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี รวมถึงการเลือกประธานบอร์ดธนาคารกลางประเทศไทย

นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 47 ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพลับลิกันชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และพรรครีพลับลิกันสามารถกุมอำนาจบริหารอย่างเบ็ดเสร็จทั้ง 2 สภา โดยเฉพาะนโยบายหาเสียงทรัมป์ 2.0 ด้านการค้าระหว่างประเทศ และนโยบายภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้าสหรัฐ ทำให้กลายเป็นปัจจัยลบกดดันต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 4 ปีจากปี 2025 เป็นต้นไป

ลอยด์ ชาน นักกลยุทธ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ ธนาคารเอ็มยูเอฟจี แบงก์ (MUFG) ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การเลือกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานธนาคารกลางประเทศไทยคนใหม่ นำไปสู่ความคาดหวังมากขึ้นว่า ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยจะไม่พ้นแรงกดดัน และต้องตัดสินใจลดดอกเบี้ยระยะสั้นในปี 2025 หลังจากได้ปรับลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีไปแล้วในปีนี้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles