เปิดค่าไฟ 6 ประเทศล้อมไทย ค่าไฟเวียดนามถูกสุดในอินโดจีน ถูกกว่าไทยถึง 1.5 เท่า

เปิด ค่าไฟ 6 ประเทศล้อมไทย ค่าไฟเวียดนามถูกสุดในอินโดจีน ถูกกว่าไทยถึง 1.5 เท่า

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ค่าไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่ในทางตรงกันข้ามกับประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม ที่มีการคิดค่าไฟฟ้าราคา 2.70 บาท หรืออินโดนีเซีย ค่าไฟ 3.30 บาท ดังนั้น หากต้นทุนปรับขึ้นสูงกว่าเดิมจนผู้ประกอบการแบกรับไม่ไหว ท้ายสุดแล้วก็ต้องส่งผ่านไปกับการขึ้นราคาสินค้า

ขณะที่ ค่าไฟฟ้าในแต่ละประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนรวม 8 ประเทศ พบว่า ประเทศสิงคโปร์มีค่าไฟฟ้าแพงที่สุดในอาเซียน และค่าไฟฟ้าของประเทศอินโดนีเซียมีค่าไฟฟ้าถูกที่สุดในอาเซียน เรียงลำดับดังนี้

1. สิงคโปร์ ยูนิตละ 12.30 บาท
2. กัมพูชา ยูนิตละ 5.53 บาท
3. ฟิลิปปินส์ ยูนิตละ 5.11 บาท
4. มาเลเซีย ยูนิตละ 4.45 บาท
5. ไทย ยูนิตละ 4.16 บาท
6. เมียนมา ยูนิตละ 2.87 บาท
7. เวียดนาม ยูนิตละ 2.69 บาท
8. อินโดนีเซีย ยูนิตละ 2.59 บาท

การปรับขึ้นค่าไฟฟ้ารวมถึงราคาน้ำมัน ถือเป็นต้นทุนที่ส่งผลกระทบทางธุรกิจ หากดูเฉพาะค่าไฟที่รัฐบาลประกาศจะปรับขึ้นแน่นอน แนวโน้มสูงที่จะปรับขึ้นประมาณ 0.40-0.50 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ราคาขึ้นไปถึง 4.60-4.70 บาทต่อหน่วย นับเป็นการเพิ่มต้นทุนของธุรกิจกว่า 10% สำหรับอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบเป็นอุตสาหกรรมหนักในภาคการผลิตที่ใช้ไฟฟ้าเข้มข้น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ถูกกระทบแบบลดหลั่นกันมา

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้เปิด 3 ทางเลือก ค่าไฟงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม โดยทางเลือกที่ 1 จ่ายคืนหนี้ กฟผ.ทั้งหมดภายในเดือนธันวาคมนี้ เมื่อบวกกับค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย หรือ เพิ่มขึ้น 44% จากระดับ 4.18 บาทในปัจจุบัน

ทางเลือกที่ 2 แบ่งคืนหนี้ กฟผ. 3 งวด เมื่อบวกกับค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือ เพิ่มขึ้น 18% จากงวดปัจจุบัน และทางเลือกที่ 3 แบ่งคืนหนี้ กฟผ. 6 งวด บวกค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือ เพิ่มขึ้น 11% จากงวดปัจจุบัน

กกพ. จะนำทั้ง 3 แนวทางไปเปิดรับฟังความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ระหว่างวันที่ 12–26 กรกฎาคมนี้ ก่อนสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป โฆษก กกพ. เปิดเผย 3 สาเหตุที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นมาก มาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า บวกกับราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปี และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินที่มีต้นทุนถูก ผลิตได้ลดลง เมื่อรวมหนี้ที่ต้องจ่ายคืน กฟผ. ส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มขึ้น 4.65–6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย ซึ่งก็ต้องจับตาว่า รัฐบาลจะมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนหรือไม่

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles