เปิดตลาดทองคำไทยวันเสาร์รับมิถุนายนร่วง -150 บาท กดรูปพรรณลงแตะ 41,150 ต่ำสุดใน 4 วันผ่านมา

221
0
Share:
เปิดตลาด ทองคำ ไทยวันเสาร์รับมิถุนายนร่วง -150 บาท กดรูปพรรณลงแตะ 41,150 ต่ำสุดใน 4 วันผ่านมา

สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำในประเทศไทย รายงานว่า วันนี้ 1 มิถุนายน 2567 เวลา 9.06 น. ลดลง -150 บาท ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 40,550 บาท ราคาขายออก 40,650 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 39,825.32 บาท ราคาขายออก 41,150 บาท ส่งผลให้เป็นราคาทองคำเปิดต่ำสุดในรอบ 4 วันผ่านมา หรือตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคมผ่านมา

ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ เปิดที่ 2,328.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ สถิติราคาทองคำในตลาดเอเชียสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่อยู่ที่ 2,435 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมผ่านมา ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐเปิดตลาดที่ระดับ 36.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ในขณะที่ 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าราคาทองคำไทยปรับทะยานขึ้น +7,150 บาท หรือพุ่งขึ้น +20.93% ประกอบด้วยเดือนพฤษภาคมสุทธิเพิ่มขึ้น +150 บาท หรือ +0.36% เดือนเมษายนสุทธิเพิ่มขึ้น +2,050 บาท หรือ +5.25% เดือนมีนาคมสุทธิเพิ่มขึ้น +3,950 บาท หรือ +11.25% เดือนกุมภาพันธ์ สุทธิเพิ่มขึ้น +400 บาท หรือ +1.15% และเดือนมกราคม สุทธิเพิ่มขึ้น +550 บาท หรือ +1.65%

ในคืนผ่านมา ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,325.67 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -16.22 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.7%

ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,346.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -20.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.9% สำหรับสถิติราคาทองคำปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่อยู่ที่ 2,438.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมผ่านมา

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 9 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) วันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) วันที่ 17 (แท่ง 41,650 รูปพรรณ 42,150) และวันที่ 20 (แท่ง 41,700 รูปพรรณ 42,200) หน่วย: บาท/บาททองคำ