วันนี้ 29 มีนาคม 2568 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 48 ชั่วโมงที่จะใกล้จะสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2568 ปรากฏว่า เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน 3 เหตุการณ์ใหญ่ขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ย้อนเวลากลับไปตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นมา มีดังนี้
28 มีนาคม 2568 เมื่อเวลา 13.25 น. โดยประมาณ เกิดการสั่นไหวกินเวลาไม่ต่ำกว่า 5 นาทีกับตึกสูงในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เช่น นนทบุรี โดยเฉพาะตึกสำนักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดินที่กำลังก่อสร้างในย่านจตุจักรพังถล่มลงมาทั้งอาคาร 100% ตึกดังกล่าวมีความสูง 30 ชั้น พบว่ามีความคืบหน้าในการก่อสร้าง 30% ของภาพรวม ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 2,136 ล้านบาท
ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 12.50 น. ตามเวลาประเทศเมียนมา ซึ่งตรงกับเวลา 13.20 น. ตามเวลาประเทศไทยโดยประมาณ สำนักงานธรณีวิทยาแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ USGS รายงาน แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาดรุนแรงวัดได้ 7.7 แมกนิทูด สำหรับศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดินเพียงแค่ 10 กิโลเมตร โดยเกิดขึ้นที่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมัณฑะเลย์
ข้อมูลของกรุงเทพมหานครถึงวันนี้ 29 มีนาคม 2568 เมื่อเวลา 9.30 น. รายงานตัวเลขอย่างเป็นทางการว่า จำนวนผู้เสียชีวิตมี 6 ราย ผู้บาดเจ็บมี 26 ราย ผู้สูญหายมี 47 ราย ในสถานที่เกิดเหตุเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจำนวน 3 แห่ง (ดินแดง บางซื่อ จตุจักร)
15 มีนาคม 2568 เมื่อเวลา 01.48 น. อุบัติเหตุโครงสร้างทางยกระดับ หรือทางด่วนสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ตรงบริเวณหน้าด่านเก็บเงินด่านดาวคะนองทรุดตัวและพังลงมา ทางด่วนบริเวณนี้สร้างขึ้นมาอยู่คร่อมกับทางด่วนเฉลิมมหานคร ซึ่งเปิดใช้มากว่า 40 ปี เกิดพังถล่มลงมา ส่งผลกระทบทางด่วนดาวคะนอง และถนนพระราม 2 ขาดออกจากกัน โศกนาฏกรรมครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวม 6 ราย และบาดเจ็บรวม 21 ราย
11 มีนาคม 2568 เมื่อเวลา 19.20 น. เหตุไฟไหม้ภายในอาคารที่ 1 ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตึกโรงพยาบาลดังกล่าวเป็นตึกสูง 9 ชั้น จุดเกิดเหตุเกิดชั้นที่ 2 ส่วนชั้นที่ 1-4 เป็นห้องปฏิบัติการ ชั้นที่ 5-9 เป็นที่พักผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ได้ทำการอพยพย้ายผู้ป่วยจำนวน 191 รายครบถ้วน โดยเป็นการอพยพย้ายภายในโรงพยาบาล เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย เนื่องจากสูดเขม่าควัเป็นนเข้าร่างกาย ซึ่งเป็นบุคลากรที่เข้าไปช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย