เส้นทางสู่การเป็นนักบินอาชีพกับ BAC โรงเรียนการบินแห่งแรกในประเทศไทย

เส้นทางสู่การเป็นนักบินอาชีพกับ BAC โรงเรียนการบิน แห่งแรกในประเทศไทย

จากการฟื้นตัวอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่ล่าสุด ททท. ได้เผยถึงสถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวต่างประเทศ 4 เดือนสุดท้ายของปี 2567 ว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเทียบได้จากช่วงเดียวกันของปี 2566 โดย ททท. คาดว่าจะมีปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยเพิ่มขึ้น 20% หรือ 12,226,500 คน หนุนภาพรวมทั้งปีแตะ 36 ล้านคน ซึ่งมากกว่าที่เป้าที่เคยตั้งไว้ โดยคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 1.818 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพของการดันประเทศไทยขึ้นเป็น ‘ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ของภูมิภาค’ ยิ่งชัดเจนมากขึ้น

แต่การจะดันให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการบินได้ ไม่ใช่แค่อาศัยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ แต่ก็ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติม อาทิ สายการบิน เครื่องบิน บุคลากรภาคพื้น วิศวกรซ่อมบำรุง พนักงานต้อนรับ หรือแม้แต่นักบินเองก็ต้องมีจำนวนที่เพียงพอต่อการให้บริการ

ซึ่ง BAC โรงเรียนการบินเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่มุ่งผลิตนักบินคุณภาพสู่สนามธุรกิจมานานหลายปี โดยคุณภาณุ นิ่มสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกเอวิเอชันเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAC เผยว่าประเทศไทยสามารถก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการบินได้ เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ จนถูกเลือกให้กลายเป็นจุดแวะพักระหว่างการบินในหลายๆ เส้นทาง ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากฟากรัฐบาลที่ออกนโยบายขยายสนามบินในหลายภูมิภาค เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางที่มากขึ้น… และตั้งเป้าที่จะเป็น “ฮับ การบิน” หรือ “เอวิเอชั่น ฮับ”

จุดนี้ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงการจ้างงานที่เริ่มกลับมาคึกคัก สอดคล้องกับรายงานของแอร์บัสล่าสุด ที่ระบุว่ามูลค่าของตลาดบริการเครื่องบินพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตกว่า 2 เท่าในอีก 20 ปี โดยมูลค่าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเป็น 129,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2586 ส่งผลให้ความต้องการจ้างงานแรงงานมีทักษะเพิ่มสูงถึง 999,000 คน แต่ถ้าจะมองให้กระชับขึ้น คุณภาณุก็คาดการณ์ว่าในอีกไม่เกิน 3 ปี การเดินทางจะกลับมาคึกคัก และอาชีพนักบินก็อาจเกิดภาวะขาดแคลนได้

แต่การจะก้าวสู่วิชาชีพนักบิน ก็จำต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น รวมถึงต้องผ่านการทดสอบหลายด้าน เพื่อให้ได้ใบอนุญาต แต่ด่านแรกต้องผ่านการสอบใบอนุญาต Private Pilot License (PPL) ก่อน ซึ่ง PPL นี้จะเป็นเพียงใบอนุญาตขับเครื่องบินส่วนบุคคลเท่านั้น ไม่สามารถขนส่งผู้โดยสารหรือรับค่าตอบแทนได้ หากอยากประกอบอาชีพเป็นนักบินพาณิชย์ สามารถขนส่งผู้โดยสารและรับผลตอบแทนจากการเป็นนักบินได้ จะต้องผ่านการสอบใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ หรือ Commercial Pilot License (CPL)

ภายหลังจากผ่านการทดสอบแล้ว ก็จะต้องไปฝึกขับเครื่องบินชนิดอื่นๆ ของแต่ละสายการบินต่อไป เพื่อให้ได้ใบอนุญาตเฉพาะสำหรับขับเครื่องบินชนิดนั้นๆ ที่เรียกว่า ‘Type Rating’ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น Type Rating สำหรับเครื่องบินแอร์บัส, Type Rating สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง เป็นต้น

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจฉุกคิดว่าแล้วนักบินผู้ช่วยกับกัปตันหละ ต้องสอบหรือฝึกอะไรอีกไหม? คำตอบคือ ‘ใช่’ โดยการจะเป็น Co-Pilot หรือนักบินผู้ช่วย จำเป็นต้องผ่านการสอบใบอนุญาตนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน หรือ Multi-Crew Pilot License (MPL) ซึ่งนักบินพาณิชย์จำเป็นต้องถือใบอนุญาต MPL เป็นขั้นต่ำ ก่อนจะแอดวานซ์ขึ้นไปอีกขั้นสำหรับคนที่ต้องการเป็นกัปตัน ด้วยการสอบใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก หรือ Airline Transport Pilot License (ATPL) โดยผู้ที่ถือใบอนุญาตนี้ต้องมีประสบการณ์ทางการบินสูง และมีชั่วโมงบินไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมงจึงจะสามารถรับใบอนุญาต APTL ได้

ปัจจุบัน BAC ได้มีการเปิดสอนหลักสูตรนักบินที่ตรงตามมาตรฐานสากล ตอบโจทย์ความต้องการของสายการบินพาณิชย์โดยเฉพาะ ผ่านหลักสูตรการบินที่ออกแบบร่วมกับสายการบินชั้นนำระดับโลก และครูการบินมากประสบการณ์ชั่วโมงบินสูงจากหลากหลายสาขา อาทิ กัปตันจากสายการบิน ชั้นนำ นักบินเครื่องบินขับไล่จากกองทัพอากาศ นักบินผาดแผลง และครูการบินต่างชาติ เป็นต้น รวมถึงมีการทำ Final Project ที่ให้นักเรียนการบินได้นำองค์ความรู้ที่ได้มาทดสอบกับกรณีศึกษาจริง เพื่อให้เรียนรู้และเข้าใจการวางแผนการบินเสมือนนักบินอาชีพ

สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรจะอยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ระยะเวลาในการเรียนอยู่ที่ประมาณ 1 ปี ไม่จำกัดเพศ การันตีโอกาสการเป็นนักบินอาชีพกับสายการบินพาณิชย์ชั้นนำมากมาย ที่พร้อมเสนอโอกาส ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้กับนักบินที่มีประสบการณ์การบินที่เป็นที่ต้องการของตลาด ขณะนี้อุตสาหกรรมการบินอยู่ในช่วงขาขึ้น ความต้องการบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินทั้งหมดกำลังเติบโตทั้งในและต่างประเทศ คุณภาณุระบุว่าในต่างประเทศกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ของไทยกำลังค่อยๆ ไต่ระดับกลับมาอยู่ในสถานการณ์ก่อนการระบาดของโควิด–19 แม้จะยังไม่ได้รวดเร็วเหมือนกับต่างประเทศ แต่ทุกสัญญาณเศรษฐกิจก็ชี้ว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยกำลังฟื้นกลับมาอย่างแข็งแกร่ง

ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://www.ba.ac.th/ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/BACflyingSchool โอกาสมาถึงแล้ว ใครสนใจรีบเลย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles