แบงก์ชาติชี้คนไทยมีความสามารถจัดการหนี้ครัวเรือนผ่านบัตรเครดิตดีขึ้น ลูกหนี้จ่ายขั้นต่ำ 8% เพิ่มเกือบ 5 เท่า

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กล่าวว่า ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังสูง ถ้าคนส่วนใหญ่ยังจ่ายขั้นต่ำที่ 8% ได้ หากเราไปหย่อนตรงนี้ลงก็จะมีความเสี่ยงว่าคนกลุ่มนี้จะไหลไปจ่ายน้อยลง ทั้งๆ ที่เราดูแล้วจะเห็นว่าคนได้ปรับพฤติกรรมแล้ว จากเดิมที่ก่อนออกประกาศดังกล่าวของแบงก์ชาติ คนที่จ่ายขั้นต่ำที่ 8% มี 3% แต่เมื่อเดือนมีนาคมผ่านมาลูกหนี้ที่จ่ายขั้นต่ำเกิน 8% เพิ่มขึ้นเป็น 14% แปลว่าคนสามารถจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนผ่านบัตรเครดิตได้ดีขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยการปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ว่า การจูงใจให้ลูกหนี้บัตรเครดิตผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 8% โดยได้รับเครดิตเงินคืน 0.5% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 และ 0.25% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 นั้น จะทำให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้จ่ายเครดิตเงินคืนให้กับลูกหนี้ประมาณ 1,000 ล้านบาทใน 1 ปี ขณะเดียวกัน อัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำคงไว้ที่ 8% จะไม่มีผลกระทบต่อลูกหนี้ส่วนใหญ่ และยังทำให้ลูกหนี้มีภาระดอกเบี้ยลงลง อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาลูกหนี้ได้ปรับพฤติกรรมการชำระหนี้ในส่วนนี้แล้ว

น.ส.เขมวันต์ ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน กล่าวว่า มาตรการคงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี หรือจนถึงสิ้นปี 2568 จากเดิมที่ต้องปรับขึ้นอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำเป็น 10% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2568 นั้น เป็นเพราะลูกหนี้บางกลุ่มมีความเปราะบาง ในขณะที่ลูกหนี้หลายกลุ่มยังคงมีศักยภาพในการจ่ายขั้นต่ำฯ ที่ 8% ได้

กลุ่มลูกหนี้ที่ผ่อนชำระขั้นต่ำได้ 5% แต่ไม่ถึง 8% นั้น ลูกหนี้กลุ่มนี้จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยการเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิต (Revolving) ไปเป็นสินเชื่อระยะยาว หรือ term loan และมีโอกาสคงวงเงินส่วนที่เหลือในบัตรเครดิตได้ ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ต้องปิดวงเงินทันทีหลังปรับโครงสร้างหนี้

ส่วนลูกหนี้กลุ่มที่ผ่อนชำระขั้นต่ำได้น้อยกว่า 5% นั้น ลูกหนี้กลุ่มนี้จะได้รับการปรับสร้างหนี้ โดยเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตไปเป็นสินเชื่อระยาว และหากเป็น NPL ก็สามารถเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ได้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles