ธนาคารกลางอินโดนีเซียเปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.25% ส่งผลให้อัตราอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลดลงจาก 6.25% มาอยู่ที่ 6.000% นับเป็นเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งแรกในรอบ 3 ปี 6 เดือนครึ่ง หรือนับตั้งแต่วิกฤตการณ์โรค โควิด-19 เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซียเป็นต้นมา การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ได้สร้างความพอใจและเหนือความคาดหมายให้กับตลาดทุนทั่วโลกเนื่องจากคาดการณ์ว่าการประชุมปัจจุบันนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
นายเพอร์รี่ วาริจิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า การลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีเป้าหมายสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 1 ของอาเซียน ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะลดต่ำลงและเข้าสู่เป้าหมายเป็นที่ 2.5% ภายในปี 2025 นอกจากนี้ อีกเหตุผลหลักสำคัญก็คือคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอินโดนีเซียประเมินว่า ในคืนวันนี้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือเฟด มีแนวโน้มสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่อยู่ในระดับสูงกว่า 23 ปี ให้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียกล่าวต่อไปว่าหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วจะติดตามและประเมินผลความเคลื่อนไหวของการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องทำให้เกิดแรงจูงใจในการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพิ่มมากขึ้นให้เข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อที่จะสนับสนุนความมี เสถียรภาพของค่าเงินรูเปี๊ยะ อินโดนีเซีย สำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศอินโดนีเซีย พบว่าดัชนีหุ้นสำคัญปรับตัวตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.8% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่การลงทุนในตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่เพียงปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากชั่วข้ามคืนลงเหลือ 5.25% และปรับลดอัตราดอกเบี้ย อัตรากู้ยืมหลงเหลือที่ 6.75% โดยเป็นการปรับลดลดลง 0.25% ของทั้งสองประเภทดอกเบี้ย
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขจีดีพีในปี 2024 นี้อยู่ที่ระดับ 5.1% และในปี 2025 จะมีจีดีพีขยายตัวที่ 5.2% ที่สำคัญรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียตั้งเป้าหมายว่าจะต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ถึง 8% ภายในปี 2027