แบงก์โลกบอก! ธนาคารโลกชี้ชาติใดมีเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่โตมักเต็มไปด้วยปัญหาเศรษฐกิจ

แบงก์โลกบอก! ธนาคารโลก ชี้ชาติใดมี เศรษฐกิจนอกระบบ ใหญ่โตมักเต็มไปด้วยปัญหาเศรษฐกิจ

Krungthai COMPASS ซึ่งเป็นสำนักวิจัยเศรษฐกิจของธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกได้ระบุถึงประเทศใดก็ตามที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ มักมีจะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมหลายด้าน พบว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มักจะมีรายได้ต่อหัวในระดับต่ำ การมีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูงกว่า การมีการกำกับดูแลและธรรมาภิบาลที่แย่กว่า การมี Productivity ทั้งมิติของภาคธุรกิจและแรงงานที่ต่ำกว่า การปรับตัวเพื่อรับมือต่อวิกฤตต่างๆ ต่ำกว่า และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เชื่องช้ากว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดเล็ก

ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 48.4% ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศไทย ที่สำคัญ มีขนาดใหญ่มากเป็นอันดับ 14 ของโลก และยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 32.7% เมื่อไปเปรียบเทียบกับทั่วโลก พบว่า ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบสูงกว่าเกือบทุกประเทศในทวีปเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ซึ่งมีสัดส่วนเศรษฐกิจนอกระบบต่อขนาดเศรษฐกิจที่เฉลี่ยเพียง 26.7% เท่านั้น

ประเทศไทยมีธุรกิจนอกระบบจำนวนมาก ในปัจจุบันนี้ ธุรกิจประเภท SME มีอยู่ราว 3.2 ล้านรายทั่วประเทศ แต่มีสถานะเป็นนิติบุคคลอยู่เพียง 840,000 ราย หรือคิดเป็น 26% ของทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ SME ของไทยมีจำนวนมากถึงเกือบ 2.4 ล้านราย หรือ 74% ที่ไม่มีข้อมูลงบการเงินในระบบฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ทั้งนึ้ จากฐานข้อมูลภาครัฐพบว่า ประเทศไทยไทยมีข้อมูลประชาชนและธุรกิจ SME ที่อยู่ในระบบค่อนข้างน้อย เนื่องจากการมีประชาชนและเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ในฐานระบบภาษีน้อยมากกว่าความเป็นจริง โดยประเทศไทยมีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียง 10-11 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน หรือคิดเป็นผู้เสียภาษีมีเพียง 16% เท่านั้น

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles