แอสตร้าเซนเนก้า จับมือ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ชูนวัตกรรมเพื่อการดูแลโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำ

บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH) ลงนามกรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรโดยทีมสหวิชาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma” สร้างความรู้ความเข้าใจในไวรัส RSV และ โรคหืด พร้อมดูแลผู้ป่วยด้วยทีมแพทย์มืออาชีพอย่างครบวงจร อีกทั้งเดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ในงานวิจัย โดยมีการพัฒนาความร่วมมือในการนำนวัตกรรมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV” ที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส RSV และนวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำเฉพาะบุคคลยกระดับการดูแลโรคระบบทางเดินหายใจให้ทันสมัยตามมาตรฐานสากล

นายโรมัน รามอส ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และ Frontier Markets เปิดเผยว่า การติดเชื้อไวรัส RSV และโรคหืดเป็นโรคที่มีความรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช จึงได้ร่วมลงนาม กรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma” โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ อีกทั้งยังพัฒนาความร่วมมือในการนำนวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรงแบบแม่นยำเฉพาะบุคคลและนวัตกรรมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสำหรับโรค RSV” ที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อไวรัส RSV ระดับรุนแรงในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงในช่วง 2 ขวบปีแรกอีกด้วย

กรอบความร่วมมือฯดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้ความเข้าใจตั้งแต่แนวทางการรักษาการปฏิบัติตัวการป้องกันโรคพร้อมดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามารับการปรึกษาอันเป็นเป้าหมายของการรักษาอย่างแท้จริงและยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการดูแลรักษาแบบองค์รวมโดยสหสาขาวิชาชีพที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางโดยให้การดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงและมีความแม่นยำกับผู้ป่วยแต่ละรายให้มากที่สุดเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงการสร้างเครือข่ายการส่งต่ออย่างเป็นระบบมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรแลกเปลี่ยนความรู้ในงานวิจัยและสื่อความรู้ประเภทต่างๆพร้อมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการรักษาแก่ผู้ป่วยทุกช่วงวัยและผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กเล็กด้วย

นายแพทย์นพรัตน์พานทองวิริยะกุลผู้บริหารโรงพยาบาลบีเอ็นเอชกล่าวว่ากรอบความร่วมมือสู่เครือข่ายความเป็นเลิศเพื่อการดูแลรักษาโรคหืดครบวงจรและยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กไทยห่างไกลภัยร้ายจากไวรัส RSV หรือ “Collaborative excellence in multidisciplinary care network for RSV and Asthma” มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดครบวงจรโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นอย่างมาก โดยการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจากไวรัส RSV เป็นสาเหตุหลักในการนอนโรงพยาบาลของเด็กเล็กในช่วงขวบปีแรก มีการระบาดหนักในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม หรือช่วงฤดูฝน สำหรับการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงทารกนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหืดในวัยเด็กได้ โดยความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกมีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัส RSV ด้วยเช่นกัน ซึ่งเด็กที่ปลอดการติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรกมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหืดในช่วง 5 ขวบปีแรกต่ำกว่าเด็กที่เคยติดเชื้อไวรัส RSV ในช่วงขวบปีแรก ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาโรคเป็นอย่างมาก

สำหรับกรอบความร่วมมือฯ ทางโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด วางแผนในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกช่วงอายุ ด้วยการบริการและการให้การดูแลแบบครบวงจรผสานกับความเชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยเฉพาะประสบการณ์ด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก อีกทั้งการผสานนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการรักษา อาทิเช่น โรคหอบหืดรุนแรง โดยการประเมินเฉพาะบุคคลเพื่อการรักษาที่แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และการทำงานเป็นทีมให้การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary teamwork)  พร้อมให้การดูแลอย่างครอบคลุมและรักษาอย่างตรงจุด

สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปโรคติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็ก สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกกุมารเวช โทร  02-022-0700 # 2758, 2760 อีเมล: bnhped@bdms.co.th และนวัตกรรมการดูแลรักษาโรคหืดรุนแรง สอบถามได้ที่ศูนย์รักษาโรคหืดและภูมิแพ้ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BAAC (BNH Asthma & Allergy Centre)  โทร 02 022 0840 

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles