โปรตีนแมลงไทยดันโอกาสส่งออกอาหารยั่งยืน ตลาดแมลงกินได้จ่อโตปีละ 25% กำไรพุ่งกว่า 5 เท่า กำไรต่อพื้นที่เลี้ยงดีกว่า 6 เท่าเทียบเลี้ยงไก่และโคนม ไทยขึ้นแท่นอันดับ 6 ส่งออกแมลงของโลก

โปรตีนแมลง ไทยดันโอกาสส่งออกอาหารยั่งยืน ตลาด แมลงกินได้ จ่อโตปีละ 25% กำไรพุ่งกว่า 5 เท่า กำไรต่อพื้นที่เลี้ยงดีกว่า 6 เท่าเทียบเลี้ยงไก่และโคนม ไทยขึ้นแท่นอันดับ 6 ส่งออกแมลงของโลก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดแมลงกินได้ในตลาดโลกในปี 2024 มีมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 44,550 ล้านบาท โดยการผลิตและบริโภคแมลงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดแมลงกินได้จะเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 25.1% ระหว่างปี 2025 – 2030 โดยเฉพาะใน ยุโรป อเมริกา และเอเชียตะวันออก ซึ่งมีการใช้แมลงเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับทั้งมนุษย์ ในรูปแบบโปรตีนผง (Powder) โปรตีน อัดแท่ง (Protein Bar) และบดผสมเป็นอาหารสัตว์

สำหรับประเทศไทยมีการส่งออกแมลงใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก โดยคิดเป็น 6% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโลก หรือ 586,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 19.3 ล้านล้านบาท โดยเป็นการส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นหลัก ทั้งนี้ ผู้เล่นหลัก ในตลาดแมลง กินได้ของโลก ได้แก่ สเปน จีน และออสเตรเลีย โดยมีสัดส่วนการ ส่งออกรวมราว 2 ใน 3

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตแมลงรายใหญ่ และมีแมลงกินได้ที่มีโปรตีนสูงหลายชนิดสามารถเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้ เช่น จิ้งหรืด หนอนไม้ไผ่ แมงมัน ดักแด้ไหม หนอนนก ถึงแม้ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกแมลงยังคงมีมูลค่าไม่มาก แต่ในอนาคตด้วยกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแนวโน้มอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น อาจเป็นส่วนช่วยให้ตลาดแมลงกินได้ไทยขยายตัวได้มากยิ่งขึ้น การยอมรับของผู้บริโภคยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากความรู้สึกไม่คุ้นเคยและความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร อีกทั้งยังคงต้องติดตามผลกระทบด้านอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นหรือที่อาจเปลี่ยนไปในกรณีการผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ ในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน

นอกจากนี้ การขึ้นเป็นผู้นำ ในตลาดแมลงกินได้ของโลก อาจจะต้องแข่งขันกับผู้นำตลาดแมลงกินได้ ได้แก่ สเปน จีน และออสเตรเลีย ซึ่งมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกรวมกันประมาณ 64% และมีจุดแข็งจากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไทยอาจนำมาเป็นแนวทางพัฒนา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แมลงมีแนวโน้มได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตในอนาคต เนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผล ให้แมลงสามารถเลี้ยงได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าปศุสัตว์โดยเปรียบเทียบ ทั้งนี้ ต้นทุนการลงทุนเบื้องต้นของฟาร์มขนาดพื้นฐานในการเลี้ยงแมลง เช่น จิ้งหรีด อยู่ในระดับไม่สูงมากนัก เพียงประมาณ 45,000 – 75,000 บาท สามารถสร้างกำไรจากการจำหน่ายแมลงสด 9,600 – 37,000 บาท/ปี และหากสามารถแปรรูปเป็นแป้งแมลงจะทำให้กำไรสูงขึ้นเป็น 260,000 บาท/ปี

นอกจากนี้ หากพิจารณาปัจจัยด้านการ ใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงแมลงจะทำกำไรต่อตารางเมตรได้สูงถึง 9,300 บาท/ตร.ม. ขณะที่ปศุสัตว์อื่น เช่น ไก่เนื้อ และโคนม สามารถทำกำไรได้ราว 1,500 บาท/ตร.ม. ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น องค์ความรู้ ภูมิอากาศ เทรนด์โลก ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงทั้งด้านการผลิตและส่งออกแมลง ซึ่งหากได้รับการผลักดัน และส่งเสริมการบริโภคแมลงในประเทศควบคู่กับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาจช่วยสร้างรายได้มหาศาลและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว จึงอาจเป็น กุญแจสำคัญ ในการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืนของไทยและของโลกในอนาคต

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles