โพลผู้บริหารภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังห่วงสารพัดปัจจัย ยังกดดันจีดีพีไทยปีนี้โตต่ำกว่า 2%

หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 40 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรม ไทยครึ่งปีหลัง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ส... (CEO Survey) จำนวน 143 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อสะท้อนมุมมองและความเห็นของผู้บริหาร ส... ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือของปี 2567 รวมทั้งข้อเสนอแนะทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

โดยมีสรุปผลการสำรวจ ดังนี้

ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ธุรกิจและยอดขายมีทิศทางอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อันดับ 1 ทรงตัว คิดเป็น 30.8%

อันดับ 2 หดตัว 1 – 10% คิดเป็น 23.8%

อันดับ 3 ขยายตัว 1 – 10% คิดเป็น 21.0%

อันดับ 4 หดตัวมากกว่า 10% คิดเป็น 19.6%

อันดับ 5 ขยายตัวมากกว่า 10% คิดเป็น 4.9%

สำหรับในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 คาดการณ์แนวโน้มธุรกิจและยอดขายอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก

อันดับ 1 ไม่เปลี่ยนแปลง 39.8%

อันดับ 2 แย่ลง 32.2%

อันดับ 3 ดีขึ้น 28.0%

ส่วนปัจจัยสนับสนุนที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2567

อันดับ 1 การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2567 56.0%

อันดับ 2 ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 41.4%

อันดับ 3 การส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2567 38.8%

อันดับ 4 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ขยายตัวในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 21.6%

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงเรื่องใดที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

อันดับ 1 การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ 54.5%

อันดับ 2 ต้นทุนการผลิตที่ผันผวนอยู่ในระดับสูงทั้งจากค่าไฟฟ้า พลังงาน ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง 51.0%

อันดับ 3 สินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศและตลาดเป้าหมายของไทย 38.5%

อันดับ 4 กำลังซื้อของประชาชนที่ชะลอตัวจากหนี้ครัวเรือนและ NPL ที่อยู่ในระดับสูง 35.7%

อย่างไรก็ตามภาครัฐควรดำเนินมาตรการใดเพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง

อันดับ 1 ส่งเสริมกลไกการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะ (Pay by Skill)แทนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 55.9%

อันดับ 2 ส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ Made in Thailandในภาคเอกชนผ่านมาตรการทางภาษี 50.3%

อันดับ 3 แก้ไขปัญหาหนี้สินของ SMEs และหนี้ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย(NPL) 47.6%

อันดับ 4 มาตรการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต 41.3%

ผู้ประกอบการควรปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังอย่างไร

อันดับ 1 นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ๆ 67.1%

อันดับ 2 นำระบบบริหารจัดการมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิต เช่น LEAN Manufacturing 47.6%

อันดับ 3 สร้างเครือข่ายและพันธมิตรเพื่อร่วมกันแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ 47.6%

อันดับ 4 ขยายตลาดใหม่หรือทำตลาดในหลายประเทศเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว 45.5%

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ภาครัฐควรเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในเรื่องใด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

อันดับ 1 ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และทบทวนมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม 48.3%

อันดับ 2 พัฒนาระบบการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน Upskill & Reskill & Newskill ให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 46.9%

อันดับ 3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมแบบมุ่งเป้าในภาคการผลิต 42.7%

อันดับ 4 สนับสนุนการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ความยั่งยืน 26.6%

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ส... คาดการณ์ GDP เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567 จะขยายตัวในระดับใด

อันดับ 1 ขยายตัวต่ำกว่า 2% คิดเป็น 51.7%

อันดับ 2 ขยายตัว 2 – 3% คิดเป็น 39.9%

อันดับ 3 ขยายตัว 3 – 4% คิดเป็น 5.6%

อันดับ 4 ขยายตัวมากกว่า 4% คิดเป็น 2.8%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles