โรงงานเหล็กจีนใช้เตาหลอมแบบไอเอฟกว่า 14 แห่งส่อลาเมืองไทย กระทรวงอุตสาหกรรมจ่อยกเลิกเตาหลอมไอเอฟ มิลล์คอน สตีล จับมืออิตาลี คืนชีพกิจการเหล็กใช้เตาหลอมแบบอีเอฟ หลังเจอเหล็กจีนทุบตลาดถึงปิดกิจการชั่วคราวปีผ่านมา 

โรงงานเหล็ก จีน ใช้เตาหลอมแบบไอเอฟกว่า 14 แห่งส่อลาเมืองไทย กระทรวงอุตสาหกรรมจ่อยกเลิกเตาหลอมไอเอฟ มิลล์คอน สตีล จับมืออิตาลี คืนชีพกิจการเหล็กใช้เตาหลอมแบบอีเอฟ หลังเจอเหล็กจีนทุบตลาดถึงปิดกิจการชั่วคราวปีผ่านมา 

นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าผู้ประกอบการผลิตเหล็กในประเทศไทยที่ใช้เตาหลอม IF มีจำนวน 14 โรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นธุรกิจสัญชาติจีน ในขณะที่บางรายมีการร่วมลงทุนกับคนไทย ดังนั้น หากกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการทบทวน และพิจารณาให้ยกเลิกมาตรฐานมอก. เหล็กที่ผลิตจากเตาหลอม IF จะทำให้โรงงานเหล็กที่ใช้เตาหลอม IF เหล่านี้ต้องเปลี่ยนเตาใหม่ทั้งหมด นั่นหมายถึง เจ้าของกิจการเหล่านี้จะต้องลงทุนใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เงินค่อนข้างมากเพื่อปรับปรุงให้ใช้เทคโนโลยีเป็นเตา EF ดังนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ที่ธุรกิจเหล่านี้ที่โดยส่วนใหญ่เป็นของคนจีนอาจจะต้องปิดกิจการ และย้ายฐานการผลิตเหล็กเตา IF ออกจากประเทศไทย

ด้านนายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าบริษัทมิลล์คอนฯ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแบบครบวงจร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับบริษัท Danieli Co.,Ltd ผู้ผลิตเครื่องจักรและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรคุณภาพสูงอันดับ 1 ของโลก จากประเทศอิตาลี เพื่อให้กระบวนการผลิตเหล็กของมิลล์คอนพร้อมจะกลับมาผลิตเหล็กอีกครั้ง หลังจากอุตสาหกรรมเหล็กไทยได้รับกระทบ จากการแข่งขันดุเดือดกับเหล็กนำเข้าราคาถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาด จนทำให้มิลล์คอนต้องหยุดการผลิตชั่วคราวไปเมื่อปี 2567 รับเป็นเวลาหลายเดือน

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการตรวจสอบ และประเมินสภาพความพร้อมของระบบและเครื่องจักรจากบริษัท Danieli ซึ่งเป็นผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรคุณภาพสูงจากประเทศอิตาลี โดยเฉพาะระบบเตาหลอมไฟฟ้า (Electric Furnace – EF) ที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตของมิลล์คอน ด้วยกำลังการผลิตรวม 800,000 ตันต่อปี มิลล์คอนจึงมีความพร้อมในการตอบสนองความต้องการของตลาดเหล็กที่เพิ่มขึ้น

โดยระบบเตาหลอมไฟฟ้า สามารถใช้เศษเหล็กได้ทุกเกรด ทุกประเภท และกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ รวมทั้งควบคุมคุณภาพและค่าเคมีในการผลิตได้ดีกว่า ส่งผลให้ได้เหล็กที่มีความบริสุทธิ์และมีคุณภาพคงที่ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย (มอก.) จึงมั่นใจในเรื่องคุณภาพที่สม่ำเสมอ นอกจากนี้กระบวนการนำเศษเหล็กมาหลอมใหม่ด้วยการอาร์คไฟฟ้า จนเหล็กหลอมละลาย ถือเป็นการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles