ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสูงวัยแตะ 13 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรไทยทั้งประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศสังคมสูงวัย ที่สำคัญ คาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี 2572 หรืออีก 5 ปี สัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยพุ่งเป็น 28% ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้ประเทศไทยจะเข้าสู่ประเทศสังคมสูงวัยระดับสุดยอด หรือ Super-aged Society
สัดส่วนประชากรไทยในปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมี 20% วัยแรงงานมีอายุระหว่าง 15-59 ปี มี 64.4% และวัยเด็กมีอายุระหว่าง 0-14 ปี มี 15.6%
เมื่อแบ่งเป็นรายภาคทั่วไทย จะพบว่า ภาคอีสานมีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากที่สุดในไทยถึง 4.2 ล้านคน หรือ 19.1% ถัดมาเป็นภาคกลางมี 3.4 ล้านคน หรือ 19.7% ตามด้วยภาคเหนือมี 2.7 ล้านคน หรือ 22.8% ต่อด้วยภาคใต้มี 1.8 ล้านคน หรือ 17.1% และสุดท้ายกรุงเทพมหานครมี 1.3 ล้านคน หรือ 22.9% ขณะเดียวกัน รายชื่อ 5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เรียงตามลำดับมากสุดไปหาน้อยสุด และสัดส่วนเทียบกับประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัด มีดังนี้
- กรุงเทพ 1,251,760 คน หรือ 22.9%
- นครราชสีมา 532,277 คน หรือ 20.3%
- เชียงใหม่ 409,457 คน หรือ 22.8% 4.ขอนแก่น 365,896 คน หรือ 20.6% 5.อุดรธานี 327,582 คน หรือ 17.5%
ทั้งนี้ สังคมผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น การบริโภคภายในประเทศที่ลดลงจากรายได้ผู้สูงวัยที่ลดลง และภาระทางการคลังที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยผู้สูงวัยและสวัสดิการด้านสุขภาพ