ไทยติดอันดับ 5 ประเทศในแง่ดีมากกว่าแง่ร้ายเพื่อการลงทุนทางตรงในประเทศเกิดใหม่ อันดับดีกว่าเวียดนามถึง 9 อันดับ ความเชื่อมั่นลงทุนทางตรงในไทยปี 68 ร่วง 1 ขั้นมาอยู่อันดับ 10 จากทั้ง 25 ประเทศเกิดใหม่

การลงทุน

ชาญชัย ถนัดค้าตระกูล กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Kearney ‎เปิดเผยการสำรวจความเชื่อมั่นดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประจำปี 2568 (Foreign Direct Investment Confidence Index หรือ ดัชนี FDICI)‎ ซึ่งเป็นผลสำรวจที่สะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่อการไหลเวียนของการลงทุน FDI ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ที่รวมถึงมุมมองของนักลงทุนต่อประเทศไทย ปรากฏว่าความเชื่อมั่นของของนักลงทุนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงอยู่ในระดับสูง แม้จะมีแรงกดดันจากหลายปัจจัยก็ตาม และตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงก็ใต้ยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ติดอันดับอยู่ใน 15 ประเทศแรกด้านความเชื่อมั่นเชิงบวกสุทธิของนักลงทุน (Net Investor Optimism) ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ประเทศไทยยังคงโดดเด่นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยรักษาอันดับที่ 5 ด้านความเชื่อมั่นเชิงบวกสุทธิของนักลงทุนในปี 2568

สำหรับ 15 อันดับแรกความเชื่อมั่นเชิงบวกสุทธิของนักลงทุน (Net Investor Optimism) ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ มีดังนี้ 1.ยูเออี 42 คะแนน 2.ซาอุดิอาระเบีย 40 คะแนน 3.จีนรวมฮ่องกง 27 คะแนน 4.บราซิล 18 คะแนน 5.ไทย 18 คะแนน 6.อาเจนติน่า 16 คะแนน 7.มาเลเซีย 6 คะแนน 8.โปแลนด์ 15 คะแนน 9.อินเดีย 14 คะแนน 10.เม็กซิโก 12 คะแนน 11.อียิปต์ 12 คะแนน 12.ตุรกี 9 คะแนน 13.เวียดนาม 8 คะแนน 14. แอฟริกาใต้ 7 คะแนน และ 15.ฟิลิปปินส์ 7 คะแนน คะแนนสุทธิดังกล่าวมาจากคะแนนมุมมองในทางลบหักกับคะแนนมุมมองในทางบวก

สำหรับ 10 อันดับแรกดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประจำปี 2568 มีดังนี้ 1.จีน อันดับไม่เปลี่ยนแปลง 2.ยูเออี อันดับไม่เปลี่ยนแปลง 3.ซาอุดิอาระเบีย อันดับไม่เปลี่ยนแปลง 4.บราซิล ขึ้น 1 อันดับ 5.อินเดีย ลด 1 อันดับ 6.เม็กซิโก อันดับไม่เปลี่ยนแปลง 7.แอฟริกาใต้ ขึ้น 4 อันดับ 8.โปแลนด์ ลง 1 อันดับ 9.อาเจนติน่า ลด 1 อันดับ และ 10.ไทย ลด 1 อันดับ

การสำรวจดัชนี FDICI ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ได้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2566 เพื่อเน้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน FDI ในช่วงสามปีข้างหน้า โดยประเทศไทยได้อันดับที่ 10 จากกลุ่มตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด นักลงทุนจำนวนมากระบุว่าทักษะและความสามารถของแรงงานไทยเป็นเหตุผลหลักที่มีความน่าดึงดูดมากที่สุดสำหรับการลงทุนในประเทศไทย (34%) ตามมาด้วยเหตุผลด้านความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (24%) และทรัพยากรธรรมชาติ (24%)‎ ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นเหตุผลรองที่มีความน่าสนใจเท่ากัน

ประเทศไทยได้แสดงบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมการลงทุนและลดอุปสรรคในการดำเนินงานของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในการดึงดูดเงินลงทุน FDIจากหลายตลาด ทำให้ประเทศจำเป็นต้องเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเสริมความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ และสร้างมาตรการดึงดูดการลงทุนที่ตรงจุดสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย”

นายชาญชัย กล่าวเสริมว่า “มาตรการภาษีศุลกากรใหม่ของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมรวมถึงยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันก็ล้วนต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านต้นทุนและข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีความท้าทายอยู่แล้ว”

“แม้จะเผชิญความท้าทายต่างๆ ประเทศไทยยังคงรักษาจุดแข็งที่สามารถดึงดูดนักลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐาน ทั้งในด้านบุคลากรที่มีศักยภาพ ความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยนโยบายเชิงรุกและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสม ประเทศไทยจะสามารถปลดล็อกศักยภาพในการสร้างคุณค่าระยะยาว ท่ามกลางสภาพแวดล้อมโลกที่ผันผวนได้” คุณชาญชัยกล่าว

ทั้งนี้ มี 8 ตลาดจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ติด 25 อันดับแรกของโลกในปีนี้ ซึ่งเท่ากับจำนวนที่ติดอันดับเมื่อปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย ญี่ปุ่น (อันดับ 4), จีน (รวมฮ่องกง) (อันดับ 6),ออสเตรเลีย (อันดับ 10), เกาหลีใต้ (อันดับ14), สิงคโปร์ (อันดับ 15), นิวซีแลนด์ (อันดับ16), ไต้หวัน (อันดับ 23) และอินเดีย (อันดับ24)

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles