ไทยยืนหนึ่งประเทศมีความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจายมากที่สุดในอาเซียน 34.6% ชี้ความมั่งคั่งของไทยอยู่ในประชากรไม่กี่คน เวียดนามมีความเหลื่อมล้ำน้อยมาก ห่างไทยถึง 8 อันดับ บรูไรรั้งเหลื่อมล้ำน้อยสุด

ไทยยืนหนึ่งประเทศมี ความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจายมากที่สุดในอาเซียน 34.6% ชี้ความมั่งคั่งของไทยอยู่ในประชากรไม่กี่คน เวียดนามมีความเหลื่อมล้ำน้อยมาก ห่างไทยถึง 8 อันดับ บรูไรรั้งเหลื่อมล้ำน้อยสุด

เวิลด์ อินอีควอลิตี้ ดาต้าเบส หรือดับเบิลยูไอดี เวิลด์ ซึ่งเป็นทีมวิจัยเศรษฐกิจอยู่ที่ คณะเศรษฐศาสตร์ปารีส (Paris School of Economics) มหาวิทยาลัยเบอร์คลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เปิดเผยการจัดอันดับประเทศในแถบอาเซียนที่มีภาวะความเหลื่อมล้ำประจำปี 2023-2024 มีดังนี้ อันดับ 1.ไทย 34.6% อันดับ 2.อินโดนีเซีย 32.3% อันดับ 3.สิงคโปร์ 30.5% อันดับ 4.มาเลเซีย 27.4% อันดับ 5.สปป.ลาว 27.1% อันดับ 6.ฟิลิปปินส์ 26.5% อันดับ 7.กัมพูชา 25.4% อันดับ 8.เวียดนาม 24.9% อันดับ 9.เมียนมา 24.6% และอันดับ 10.บรูไน 23.5%

ดับเบิลยูไอดี เวิลด์ เปิดเผยต่อไปว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับสูงสุดของความเหลื่อมล้ำ หรือช่องว่างความมั่งคั่งกับความยากจนที่กว้างถึง 34.6% ซึ่งหมายความว่าความมั่งคั่งของประเทศไทยส่วนใหญ่ล้วนกระจุกตัวอยู่ในมือของประชาชนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น อันดับ 2 คือ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของอาเซียนและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในอาเซียนนั้น มีความเหลื่อมล้ำที่ใกล้ประเทศไทย ซึ่งเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วงสําหรับประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งชนชั้นกลางและชนชั้นล่างยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ

แม้แต่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกจัดอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีรายได้สูงก็จริง แต่ แต่กลับมีความเหลื่อมล้ำอยู่ในอันดับที่ 3 ที่ 30.5% นั่นหมายความว่า ว่าความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอันดับต้นต้นของโลกกลับไม่ได้แปลว่าจะเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียมกันเสมอไป

สำหรับประเทศบรูไน แม้จะมีขนาดเล็กและความมั่งคั่งด้านน้ํามัน แต่ความน่าสนใจกลับกลายเป็นประเทศที่มีภาวะเหลื่อมล้ำต่ําสุดของภูมิภาคอาเซียนที่ 23.5%

ทั้งนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจอาเซียนแข่งกันไปสู่ดิจิทัลและการเติบโต การจัดการความไม่เท่าเทียม หรือความเหลื่อมล้ำยังคงเป็นความท้าทายที่สําคัญ หากไม่มีนโยบายที่ตรงเป้าหมาย ช่องว่างด้านความเหลื่อมล้ำอาจเพิ่มมากขึ้น สาเหตุจากความตึงเครียดทางสังคม และความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles