ซีเอเชีย เปิดเผยรายงานการจัดอันดับอายุเฉลี่ยของประชากรในแต่ละประเทศของกลุ่มอาเซียนประจำปี 2023 พบว่า ประเทศไทยกลายเป็นชาติที่สูงวัยมากที่สุดอันดับ 2 รองจากสิงค์โปร์ ในขณะที่ประเทศติมอร์-เลสเต เป็นประเทศหนุ่มสาวที่สุดในอาเซียน โดย 11 อันดับประเทศที่มีอายุประชากรเฉลี่ยตามลำดับ มีดังนี้ อันดับ 1 ติมอร์-เลสเต 20.9 ปี อันดับ 2 สปป.ลาว 24.4 ปี อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 25.5 ปี อันดับ 4 กัมพูชา 27.1 ปี อันดับ 5 อินโดนีเซีย 29.4 ปี อันดับ 6 เมียนมา 29.6 ปี อันดับ 7 มาเลเซีย 30.8 ปี อันดับ 8 เวียดนาม 32.8 ปี อันดับ 9 บรูไน 33.2 ปี อันดับ 10 ไทย 40.2 ปี และอันดับ 11 สิงคโปร์ 48.2 ปี
ด้านองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เปิดเผยรายงานผลสำรวจประชากรสูงวัยตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไปในปี 2022 หรือ UN World Population Prospects 2022 โดยการคำนวนสัดส่วน หรือเปอร์เซ็นต์ของประชากรช่วงวัยดังกล่าวเทียบกับจำนวนประชากรในแต่ละประเทศของภูมิภาคอาเซียน พบว่า อันดับ 1 ประเทศไทยมีประชากรสูงวัยที่ 15.21% ทำสถิติสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน อันดับ 2 สิงคโปร์ 15.12% อันดับ 3 เวียดนาม 9.12% อันดับ 4 มาเลเซีย 7.5% อันดับ 5 อินโดนีเซีย 6.86% อันดับ 6 เมียนมา 6.82% อันดับ 7 บรูไน 6.17% อันดับ 8 กัมพูชา 5.81% อันดับ 9 ฟิลิปปินส์ 5.44% อันดับ 10 ติมอร์-เลสเต 5.21% และอันดับ 11 สปป.ลาว 4.45% ส่งผลให้ประเทศสปป.ลาวมีสัดส่วนประชากรสูงวัยน้อยที่สุดในอาเซียน
ยูเอ็น เปิดเผยต่อไปว่า อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในแต่ละประเทศสมาชิกของกลุ่มอาเซียนประจำปี 2022 พบว่า อันดับ 1 สิงคโปร์ 84.39 ปี อันดับ 2 ไทย 80.13 ปี อันดับ 3 มาเลเซีย 76.58 ปี อันดับ 4 เวียดนาม 74.90 ปี อันดับ 5 บรูไน 74.61 ปี อันดับ 6 ฟิลิปปินส์ 74.20 ปี อันดับ 7 กัมพูชา 71.60 ปี อันดับ 8 อินโดนีเซีย 71.24 ปี อันดับ 9 ติมอร์-เลสเต 69.56 ปี อันดับ 10 สปป.ลาว 69.54 ปี และอันดับ 11 เมียนมา 67.66 ปี ส่งผลให้ประชากรชาวเมียนมามีอายุขัยน้อยที่สุดในอาเซียน