ในงาน Thailand – U.S. Teade and Invesment Summit 2025 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเป็นพิเศษจากสนธิสัญญาฉบับหนึ่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1966 หรือกว่า 50-60 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคพลังงานของสหรัฐฯ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในอดีตประเทศไทยเคยพึ่งพาทรัพยากรด้านพลังงานในประเทศได้ถึง 100% แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 40% เท่านั้น อีก 60% ต้องพึ่งการนำเข้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการด้านการพัฒนาและการลงทุน ไทยยังมีพื้นที่อีกหลายแห่งในฝั่งตะวันตกและตอนใต้ โดยเฉพาะในทะเลลึก ในอดีตอาจไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการสำรวจหรือพัฒนา แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เชื่อว่าพื้นที่เหล่านี้อาจมีศักยภาพมากพอๆ กับพื้นที่อ่าวไทย
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสร้างระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม พร้อมเร่งผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความมั่งคั่ง สะดวกต่อการทำธุรกิจ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเร่งรัดกระบวนการอนุมัติด้านต่าง ๆ (EOT) ผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีทักษะสูง ดำเนินการเปลี่ยนผ่านบริการภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล และผลักดันการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมเปิดรับนักลงทุน เป็นประเทศที่ยืดหยุ่น และพร้อมเป็นจุดหมายหลักของการทำธุรกิจและการเชื่อมโยงสู่ตลาดในภูมิภาค
โดยยืนยันว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความร่วมมือและพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นในการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ที่ยั่งยืน ยุติธรรม และสมดุลในระยะยาว ขณะนี้ กำลังดำเนินการในกรอบความร่วมมือที่มีเป้าหมายเพื่อ ลดความไม่สมดุลทางการค้า และเสริมสร้างความร่วมมือที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในระยะยาว ดังที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ด้านการคลัง และผู้แทนจากสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ เรายื่นข้อเสนอที่มีรายละเอียดชัดเจน ซึ่งประเมินว่าข้อเสนอนี้จะช่วยลดตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ได้ประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าผมจะยังไม่ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่อง “บุคลากรแลกเปลี่ยน” (Reciprocal Talent) อย่างละเอียด แต่ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างมากกับประเด็นนี้ และถือเป็นวาระสำคัญในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ เรายึดมั่นในความร่วมมือที่เป็นธรรม สมดุล และยั่งยืน ผ่านกรอบความร่วมมือที่เสนอไว้ ซึ่งเชื่อว่าทั้งสองประเทศจะได้ประโยชน์ร่วมกันในระยะยาว ตามที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้
อีกเรื่องที่น่ายินดีคือการที่ ดร.Lastly Kai Foreman และหอการค้าไทย ได้มอบรางวัลให้แก่กลุ่มนักลงทุนไทยที่เข้าร่วมงาน Select USA Investment Summit ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืนกับสหรัฐฯ แม้ว่าการลงทุนจากฝั่งไทยในสหรัฐฯ จะมีมูลค่าสูง แต่ในทางกลับกัน การลงทุนจากสหรัฐฯ มายังประเทศไทยยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก ตนเองเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายสามารถเกื้อหนุนกันและบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 9–10 ของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าลงทุนที่สุดใน 25 อันดับแรกของโลกในปีนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีและโอกาสที่ไม่ควรมองข้าม และในปีนี้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็น 10 ในกลุ่ม 25 ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าลงทุนมากที่สุด จากดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI Confidence Index 2025) โดยบริษัท Kearney และยังระบุด้วยว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 5 ด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุน เราขอขอบคุณนักลงทุนจากสหรัฐฯ อย่างจริงใจ ที่ให้ความไว้วางใจประเทศไทยมาโดยตลอด ปัจจุบันการลงทุนของบริษัทไทยในสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมมากกว่า 20 อุตสาหกรรมเราขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายร่วมกันสำรวจโอกาสการลงทุนแบบสองทาง (Two-way Investment) ให้มากยิ่งขึ้น แผนการต่าง ๆ ของเราจะเปิดโอกาสที่กว้างขึ้น พร้อมส่งเสริมความยั่งยืนในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพลังงาน ผมคาดหวังว่าจะได้เห็นความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม