ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ ยักษ์ใหญ่ธนาคารพาณิชย์ชื่อดังระดับโลกในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ได้ปรับขึ้นราคาเฉลี่ยทองคำโลกปีนี้จากเดิมที่ระดับ 2,190 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ มาเป็น 2,080 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือเพิ่มขึ้น 90 2,190 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นอกจากนี้ ยังมองราคาทองคำโลกช่วงสิ้นปีนี้ที่ระดับ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์
ด้านนายแดเนี่ยยล ไครน์ และทีมสำนักวิจัยธนาคารเอเอ็นแซท (ANZ) ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ได้ปรับขึ้นราคาเป้าหมายทองคำตลาดโลกจากเดิมอีก 100 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ราคาเป้าหมายใหม่ขึ้นมาเป็น 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ภายในสิ้นปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 2,200 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์
ด้านนาตาชา คาเนวา หัวหน้าสายงานวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยว่า ทองคำมาเป็นอันดับ 1 ในการเลือกเพื่อการลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาทองคำโลกมีศักยภาพที่จะเคลื่อนไหวถึงระดับ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 นี้ หลังจากราคาทองคำตลาดโลกปิดขึ้นสูงสุดที่ระดับ 2,195.15 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่วันผ่านมา สาเหตุจากตลาดทองคำโลกมีแนวโน้มที่จะได้รับปัจจัยหนุนมากขึ้น
การที่ราคาทองคำจะไปถึงระดับ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐนั้น จะต้องมีความต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาที่อ่อนตัวลง และมีสัญญาณที่ตอบรับชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น
ขณะที่ ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,156.59 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -3.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.5% ส่งผลราคาปิดลดลง 2 วันติดกันรวม -16.07 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.8% ก่อนหน้านี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2024 ผ่านมา ราคาทองคำสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ไปอยู่ที่ 2,195.15 ดอลลาร์สหรัฐ สอดรับกับราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,161.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -6.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.6% ส่งผลราคาปิดลดลง 2 วันติดกันรวม -20.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -1.0%
ปัจจัยปัจจัยลบมาจากกระทรวงแรงงาน สหรัฐ ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อผู้ผลิตทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า เพิ่มขึ้นเป็น +0.6% เทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้มากที่ระดับ 0.3% ในขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น +0.3% เทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ +0.2% ในขณะที่ เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันในปีผ่านมา พบว่า เงินเฟ้อผู้ผลิตทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น +2.0% ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ +1.9% ในขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิตขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น +3.8% ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ +3.7% ส่งผลให้เป็นอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเหนือคาดการณ์เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สะท้อนภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐยังไม่ลดลงอย่างยั่งยืน จึงสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าเฟดอาจจะยังไม่ลดดอกเบี้ยระยะสั้นเร็วตามคาดไว้