ทองคำโลกดำดิ่งเกือบ 50 ดอลลาร์ ปิดหลุด 2,690 ดอลลาร์ เบรกราคาพุ่งแรง 4 วันติดรวมกว่า 100 ดอลลาร์ เงินเฟ้อผู้ผลิตสหรัฐพุ่งสูงเกินคาดการณ์ ชิงทำกำไร

ทองคำโลก ดำดิ่งเกือบ 50 ดอลลาร์ ปิดหลุด 2,690 ดอลลาร์ เบรกราคาพุ่งแรง 4 วันติดรวมกว่า 100 ดอลลาร์ เงินเฟ้อผู้ผลิตสหรัฐพุ่งสูงเกินคาดการณ์ ชิงทำกำไร

ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก รายงานว่า วันที่ 12 ธันวาคม 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,684.32 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -34.68 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -1.2% ส่งผลหยุดทองคำปิดขึ้น 4 วันติดกันรวม +90.79 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +3.7% สิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน ราคาทองคำร่วงกว่า -3% ทำสถิติราคาทองคำที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 1 ปี 2 เดือน หรือตั้งแต่กันยายนปี 2023 เป็นต้นมา

สำหรับราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Spot สูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,790.15 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ทำสถิติราคาส่งมอบทันที (Spot) ปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์เกิดขึ้นรวมทั้งหมด 7 ครั้งในเดือนตุลาคม

สอดรับกับราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ 2,709.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -47.00 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -1.7% ส่งผลหยุดทองคำปิดขึ้น 4 วันติดกันรวม +103.20 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +3.1% ในเดือนตุลาคมที่ผ่านไป ทำสถิติราคาทองคำล่วงหน้า (Future) ปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์เกิดขึ้นรวมทั้งหมด 6 ครั้ง โดยมีราคาล่วงหน้า (Future) สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,800.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2024

สาเหตุจากเงินเฟ้อผู้ผลิตสินค้าทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน พบว่าเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม เพิ่มขึ่น 0.4% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% สอดรับกับเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีผ่านมา เงินเฟ้อดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3% เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 1 ปี 10 เดือน หรือตั้งแต่กุมภาพันธ์ปี 2023 ถึงแม้ว่าเมื่อตัดราคาอาหารและพลังงานออกไปให้กลายเป็นเงินเฟ้อผู้ผลิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% ตรงตาดคาดการณ์ไว้นั้น แต่นักลงทุนมองว่าภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐโดยรวมๆ ยังคงไม่ลดลงเข้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดจะทบทวนการลดดอกเบี้ยระยะสั้น

ในขณะที่ เมื่อคืนวันพุธผ่านมา เงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้านั้น และเพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แม้จะเป็นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือนผ่านมา แต่ตรงตามคาดการณ์ไว้ นั่นหมายถึงภาวะเงินเฟ้อสหรัฐไม่เพิ่มสูงเกินที่จะรับได้ นักลงทุนจึงมั่นใจว่าโอกาสลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐในวันที่ 17-18 นี้จะมีต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางแคนาดามีมติลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงมากถึง 0.5% นับเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันรวมลดไปแล้ว 1.0%

ตัวชี้วัดโอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐอเมริกา พบว่า การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐครั้งต่อไปวันที่ 17-18 ธันวาคมนี้ มีโอกาสที่ 95% จากเดิมที่ 86% ที่เฟดดอกเบี้ยจะปรับลง 0.25%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles