ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยจำใจกู้นอกระบบพุ่ง 2 เท่า ยอดเงินกู้เกินกว่า 42% เจ้าของกิจการรายย่อยนำโด่งกู้นอกระบบกว่า 46% ธุรกิจขนาด SME วอนธนาคารพาณิชย์ปรับโครงสร้างหนี้

ธุรกิจ เอสเอ็มอี ไทยจำใจ กู้นอกระบบ พุ่ง 2 เท่า ยอดเงินกู้เกินกว่า 42% เจ้าของกิจการรายย่อยนำโด่งกู้นอกระบบกว่า 46% ธุรกิจขนาด SME วอนธนาคารพาณิชย์ปรับโครงสร้างหนี้

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยรายงานบทวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ อ้างอิงจากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคล อันเป็นฐานข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) พบว่า ธุรกิจรายเล็ก พึ่งหนี้นอกระบบสัดส่วน 42.8% จากเดิม 21.3% ขณะที่ ผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ประสบปัญหาเรื้อรังอาจต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งผลสำรวจของ สสว.ในไตรมาส 3/2567 ชี้ว่าธุรกิจเอสเอ็มอีพึ่งพำหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ดังนี้

ภาพรวมธุรกิจขนาดจิ๋ว และขนาด SME ในไทยในไตรมาส 3 ปีนี้ ปรากฏว่าไปพึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 42.8% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 21.3% ประกอบด้วย กลุ่ม Micro (ธุรกิจรายย่อย) ในไตรมาส 3 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 46.6% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 20.3% กลุ่ม Small (ธุรกิจขนาดย่อม) ในไตรมาส 3 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 45.1% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 27.8% กลุ่ม Medium (ธุรกิจขนาดกลาง) ในไตรมาส 3 พึ่งพาหนี้นอกระบบสัดส่วน 19.7% จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 17.4%

ผลสำรวจยังพบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอี ต้องการภาครัฐหนุนเศรษฐกิจ-อยากให้แบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ โดยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 67 ชี้ถึงความต้องการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้แก่ ด้านความต้องการต่อภาครัฐ การสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวม เพื่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของธุรกิจ (28.5%) การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสและความสะดวกในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน (22.7%) และการช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อลดภาระหนี้/ปรับโครงสร้างหนี้ (22.0%) ต่อลมหายใจเฉพาะหน้า

ด้านความต้องการต่อสถาบันการเงิน พบว่าการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ยอดผ่อนต่อเดือนสอดคล้องกับรายได้ (21.2%) การปรับเงื่อนไขและขั้นตอนการขอสินเชื่อให้เหมาะกับลูกค้า (20.0%) และการกำหนดค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงกับลูกค้าแต่ละราย (17.5%)

ทั้งนี้ ประเภทของแต่ขนาดธุรกิจ ประกอบด้วย ธุรกิจ Super Micro มียอดสินเชื่อคงค้างน้อยกว่า 5 ล้านบาท ประเภท Micro มียอดสินเชื่อคงค้าง 5-20 ล้านบาท ประเภท Small (มียอดสินเชื่อคงค้าง 20-100 ล้านบาท และประเภท Medium มียอดสินเชื่อคงค้าง 100-500 ล้านบาท

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles