EIC ลดเป้าเศรษฐกิจไทยปี 67 ลงรอบ 2 คาดโตแค่ 2.5% ชี้ 3 ปัจจัยลบฉุดเศรษฐกิจไทย

EIC ลดเป้า เศรษฐกิจไทย ปี 67 ลงรอบ 2 คาดโตแค่ 2.5% ชี้ 3 ปัจจัยลบฉุดเศรษฐกิจไทย

นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center หรือ EIC และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือโต 2.5% นับเป็นการปรับครั้งที่ 2 จาก พ.ย.ปีก่อนตั้งไว้ที่ 3% แล้วปรับลดลงเหลือ 2.7% เมื่อ เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งไม่แตกต่างกับหน่วยงานราชการหลายแห่ง

สาเหตุจากความกังวลใจปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น หากไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจระยะสั้นดีขึ้น ก็จะกระทบกับโครงสร้างระยะยาว ความกังวลใจต่อเศรษฐกิจไทยมีค่อนข้างมาก จาก 3 ปัจจัยที่จะฉุด เศรษฐกิจไทยชะลอลงได้เร็ว คือ ภาคการผลิตที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานชะลอลง เชื่อมมาสู่ปริมาณความต้องการบริโภค การจ้างงาน รายได้ลดลง ความเข้มข้นการให้สินเชื่อที่มากขึ้น แปลว่าเศรษฐกิจไม่ดี คนยิ่งมีอุปสงค์น้อยลง เศรษฐกิจระยะสั้นไม่ดี เห็นจากการลงทุนที่ชะลอตัวเรื่อยๆ จนกระทบกับศักยภาพโครงสร้างไทยให้ลดลง

มองว่าแม้เศรษฐกิจโลกแม้จะดี แต่เศรษฐกิจไทยไม่ได้ดีไปด้วย ยังต้องการแรงขับเคลื่อนในประเทศมาช่วย ถ้างบประมาณรายจ่ายภาครัฐออกมาช้า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาน้อยจะยิ่งฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องใช้ทั้งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาควบคู่กับมาตรการกระตุ้น โดยเป็นการเยียวยาชั้นกลางลงไปถึงชั้นรากหญ้า

ล่าสุดพบว่ากลุ่มเปราะบางที่มีรายได้ไม่พอรายจ่ายกลับมีจำนวนมากขึ้น ในปีที่แล้วครัวเรือนที่มีรายได้รวมกัน 40,000 บาทต่อเดือน พบว่ามีรายได้ไม่พอรายจ่าย แต่มาปีนี้ระดับรายได้ที่ 50,000-60,0000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ก็แทบจะใช้ไม่เพียงพอ ส่วนมาตรการกระตุ้นนั้น ต้องกระตุ้นกลุ่มที่มีมีเงินเหลือและเงินออมในระบบมากกว่าปกติรวมไปถึงห้างร้านให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อกระจายเม็ดเงินไปยังกลุ่มอื่นของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้มองว่า จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในช่วงปลายปีนี้ และอีกครั้งในต้นปีหน้า ตามโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ลดลง อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจโลก การค้าไทย และรายจ่ายชะลอลงเร็ว เชื่อว่าดอกเบี้ยคงชะลอลง เร็วกว่าที่คาด

พร้อมเตือน ระวัง 3 เรื่องสำคัญมากที่สุด คือ หนี้ครัวเรือนที่รอเวลาสุกงอม ถ้ามีเหตุการณ์วิกฤตินอกประเทศ ความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะน้อยลงทันที เพราะคนไม่สามารถกู้ได้อีก ขณะเดียวกัน หนี้ที่สูงอยู่แล้ว ตลาดรับรู้ความเปราะบาง เศรษฐกิจจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว รองลงมาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ลดลง หนี้สาธารณะของไทยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนใกล้ 70% และมีจุดวกกลับที่จะเข้าสู่ภาวะปกติไกลออกไปเรื่อยๆ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles