SCB EIC ชี้เศรษฐกิจไทยออกอาการคล้ายสูญหายใน 10 ปีแทบไม่ต่างจากญี่ปุ่นที่เคยเจอ

SCB EIC ชี้ เศรษฐกิจไทย ออกอาการคล้ายสูญหายใน 10 ปีแทบไม่ต่างจากญี่ปุ่นที่เคยเจอ

SCB EIC ซึ่งเป็นสำนักวิจัยเศรษฐกิจในเครือธนาคารเอสซีบี เปิดเผยบทความมีชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในทศวรรษที่สูญหาย ซึ่งทศวรรษที่สูญหาย (The Lost Decade) มีลักษณะสำคัญ คือ เศรษฐกิจเติบโตต่ำติดต่อกันระยะเวลานาน และคนสูญเสียความเชื่อมั่น มีผลต่อการคาดการณ์ บทความดังกล่าวมีดังนี้

หนึ่งในช่วงเวลาที่มืดมิดที่สุดบนหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก คือ ‘ทศวรรษที่สูญหาย’ (The Lost Decade) ทศวรรษที่สูญหายเป็นคำที่ใช้อธิบายเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 1990s ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ (1) เศรษฐกิจเติบโตต่ำติดต่อกันระยะเวลานาน จนกระทั่ง (2) คนญี่ปุ่นเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตได้เหมือนเดิม พวกเขาจึงเก็บออมและใช้จ่ายน้อยลง ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สูญหายหลังเกิดวิกฤตฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ ญี่ปุ่นกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่สูญหายยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ

หากเทียบเศรษฐกิจไทยจากไตรมาสที่วิกฤตโควิด-19 เริ่มต้นขึ้น กับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในเวลาฟองสบู่ราคาเริ่มต้นแตกลงจะพบว่า มูลค่าของเศรษฐกิจ (Real GDP) และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนของทั้งสองประเทศแยกตัวลงมาจากแนวโน้มก่อนวิกฤตในลักษณะเดียวกัน และต่างก็ไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปยังแนวโน้มก่อนวิกฤตได้เลย

อาการของเศรษฐกิจไทยชวนให้สงสัยว่า เศรษฐกิจไทยกำลังก้าวตามรอยญี่ปุ่นเข้าสู่ทศวรรษที่สูญหายหรือไม่ เศรษฐกิจไทยออกอาการโตช้ามาตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยเศรษฐกิจไทย ณ สิ้นปี 2023 ฟื้นตัวเป็นอันดับที่ 162 จาก 189 ประเทศที่สำรวจ และเมื่อมองไปข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เพียง 2.5-3.0% ในปี 2024 จากที่เคยเติบโตได้ 5.4% ต่อปีในช่วงปี 2000-2006 และ 3.1% ในช่วงปี 2012-20182

เมื่อลองเทียบเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงต้นของทศวรรษที่สูญหายกับเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด จะพบว่าเศรษฐกิจไทยแสดงอาการที่คล้ายกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างมากจนน่าวิตก โดยผลิตภาพแรงงานของไทยหยุดเติบโต จากที่เคยเติบโตช้าอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ขณะที่สถาบันการเงินไทยก็เผชิญกับต้นทุนเครดิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่ภาครัฐลดความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องในปี 2023 ซึ่งตรงกับช่วงไตรมาสที่ 10 หลังเกิดวิกฤตโควิด ส่งผลให้สถาบันการเงินไม่สามารถให้สินเชื่อใหม่ได้ สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับแรงผลักจาก Financial Accelerator อยู่ในขณะนี้

ศักยภาพการเติบโตระยะยาวที่เสื่อมถอยลง และข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อส่งผลต่อสถานะทางการเงินของคนไทย สถานการณ์ยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อขยายภาพลงมาดูฐานะการเงินของคนไทยในระดับจุลภาค ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2023 สะท้อนว่าสัดส่วนของครัวเรือนไทยที่เผชิญปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายคิดเป็นกว่า 41% ของครัวเรือนไทยทั้งประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ที่เคยอยู่ที่ 32% และพบด้วยว่าครัวเรือนรายได้ปานกลางเริ่มเจอปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายกันมากขึ้น จากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนรายได้น้อย ขณะเดียวกัน ก็มีภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้เพิ่มขึ้นราว 5% ระหว่างปี 2021-20223

จากอาการทั้งหมดที่กล่าวมา ความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจไทยจะก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สูญหายไปเสียแล้ว และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นบอกเราว่า เราอาจจะต้องตกอยู่ในทศวรรษที่สูญหายไปยาวนานกว่า 30 ปี หรือจนกว่าจนถึง 2050

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles