Tupperware ยื่นล้มละลาย-ขอพิทักษ์ทรัพย์ ตำนานกล่องใส่อาหารกว่า 80 ปี แบกหนี้สินรวมสูงกว่า 340,000 ล้านบาท จ่อปิดโรงงานแห่งสุดท้าย ปลด 150 คน

Tupperware ยื่น ล้มละลาย -ขอพิทักษ์ทรัพย์ ตำนานกล่องใส่อาหารกว่า 80 ปี แบกหนี้สินรวมสูงกว่า 340,000 ล้านบาท จ่อปิดโรงงานแห่งสุดท้าย ปลด 150 คน

ทัปเปอร์แวร์ แบรนด์ คอร์ปอเรชั่น (Tupperware) ซึ่งเป็นตำนานธุรกิจและแบรนด์ภาชนะหรือกล่องบรรจุถนอมอาหารชื่อดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกามา 82 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1942 เป็นต้นมา ประกาศยื่นต่อศาลล้มละลายในรัฐเดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา และขอพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาตรา 11 ภายในสัปดาห์นี้ บริษัทดังกล่าวระบุทรัพย์สินมูลค่า 500-1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 17,000-34,000 ล้านบาท และมีหนี้สินมูลค่า 1,000-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 34,000-370,000 ล้านบาท

สาเหตุจากทัปเปอร์แวร์ ต้องเผชิญกับภาระหนี้สินสะสมมีจำนวน กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 23,800 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ทับเปอร์แวร์ใช้ความพยายามในการบริหารแก้ไขภาวะหนี้สินสะสม รวมถึงดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดท่ามกลางปัจจัยที่ท้าทายและรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ความพยายามดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์วิกฤติได้

ขณะที่ราคาหุ้นของทัปเปอร์แวร์มีราคาดำดิ่งมากกว่า 50% เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเราเดือนมิถุนายนปีนี้ ทัปเปอร์แวร์ เปิดเผยว่ามีแผนที่จะปิดโรงงานผลิตสินค้าซึ่งเหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในประเทศสหรัฐสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วยการปลดพนักงานออกเป็นจำนวน 150 คน ก่อนหน้านี้ในปี 2023 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารของบริษัทได้ลงมติเปลี่ยนแปลงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอคนใหม่ รวมถึงปรับเปลี่ยนคณะบริหารชุดใหม่ โดยมีความหวังว่าจะพลิกฟื้นธุรกิจของทัปเปอร์แวร์

ทัปเปอร์แวร์ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ที่อาศัยกลยุทธ์การขายตรงมาเป็นระยะเวลาช้านาน โดยในปี 2022 มีเครือข่ายผู้ขายสินค้าอิสระของทัปเปอร์แวร์มากกว่า 3000 คนทั่วสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ แบรนด์ทัปเปอร์แวร์ในประเทศไทย ที่คนไทยเคยรู้จักกันดีในยุคทศวรรษ 1960 นั้น เริ่มต้นในประเทศไทยด้วยการเริ่มจัดจำหน่ายในระบบขายตรง และเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยมากว่า 39 ปี จนกระทั่งในปี 2005 บริษัท เอส เค อินเตอร์ กรุ๊ป 2005 จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดย คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ได้เห็นโอกาสการตลาดในการขยายการจัดจำหน่ายในประเทศไทย จึงได้เสนอขอรับสิทธิ์ในการนำเข้าและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย รวมทั้งได้ปรับกลยุทธ์เพิ่มเติมจากระบบไดเร็คเซลส์ โดยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งการค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า และระบบแฟรนไซส์ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในระดับต่างๆ ได้มากขึ้น

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles