กกร. ชี้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สวนทางกับความต้องการนักลงทุน แต่จะมีทั้งแง่บวกและลบ

กกร. ชี้ กนง. คงอัตรา ดอกเบี้ย นโยบาย สวนทางกับความต้องการนักลงทุน แต่จะมีทั้งแง่บวกและลบ

นายทวีปิยะพัฒนา รองประธานอวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่าที่ประชุมได้หารือถึงนโยบายการเงินที่จะมีการพิจารณาดอกเบี้ยของไทย โดยมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี ต่อไป ซึ่งสวนทางกับความต้องการของนักลงทุนและภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว และไม่มีแรงการสนับสนุนการลงทุน โดยท่าทีของเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง

โดยที่ประชุมมีความเห็นที่หลากหลาย ซึ่งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ คิดว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีข้อมูลเชิงลึกและมีข้อเสนอแนะที่ดีต่อภาพรวมการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องมองถึงอัตราเงินเฟ้อค่าเงินในทุกๆด้าน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่สามารถเลี่ยงได้โดยฝั่งเอกชนจะพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกกร.สนับสนุนการดำเนินมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะเล็งเห็นว่าเป็นแนวทางที่สามารถช่วยแก้หนี้ให้กับประชาชนได้จริง แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และยั่งยืน ซึ่งจะได้มีความต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 โดยภายใต้แนวทางมาตรการ Responsible Lending จะช่วยเหลือลูกหนี้ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย ระหว่างเป็นหนี้เสีย มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง และรายได้ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ โดยขอให้ ธปท. ติดตามประเมินผลกระทบของมาตรการต่อการเข้าถึงสินเชื่อด้วย เนื่องจากบางส่วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพและการประกอบอาชีพ

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ทางการเงิน สร้างวินัยทางการเงินที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนจัดการการเงินที่เหมาะสม ใช้สินเชื่อเท่าที่จำเป็นและตรงวัตถุประสงค์ ไม่ก่อหนี้เกินตัว ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่เป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศได้อย่างยั่งยืนเพื่อให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนยั่งยืน ต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับรายได้ และแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่สั่งสมมานาน สะท้อนจากรายงานของ World Economic Forum ล่าสุดที่บ่งชี้ว่า ไทยยังทำได้ไม่ดีนักจากการจัดอันดับด้าน Future of Growth โดยจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงความเหลื่อมล้ำ (Inclusiveness) ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience) ที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles