กระเป๋าเงินคนไทยแฟบโบ๋ กว่า 40% ลดยันเลิกเที่ยว SCB EIC ชี้ คนไทยเที่ยวในไทยจัดงบไม่เกิน 3 พันบาท/คน/วัน เปิด 4 วิธีปรับตัวไปท่องเที่ยว

SCB EIC เปิดเผยว่า ชาวไทยยังคงพร้อมเที่ยวต่อในปีหน้าแต่มีแนวโน้มลดการใช้จ่ายลง จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะลดลงมากกว่าการท่องเที่ยวในประเทศ การท่องเที่ยวยังคงเป็นหนึ่งในกิจกรรมยอดฮิตที่ชาวไทยให้ความสำคัญ จากสัดส่วนผู้ที่จะเลิกใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศมีเพียง 9% ซึ่งต่ำกว่าการเลิกใช้จ่ายในหลายด้าน

ผลสำรวจพบว่า มี 46% เลิกใช้จ่าย/ใช้จ่ายลดลงบในการท่องเที่ยวในประเทศ มี 56% เลิกใช้จ่าย/ใช้จ่ายลดลงในการ
ท่องเที่ยวต่ำงประเทศ มี 32% จะใช้จ่ายเท่าเดิมและมากขึ้นเพื่อเที่ยวในและต่างประเทศ มี 57% คาดว่ารายได้จะเพิ่มมากขึ้นในปี 2568 ที่จะเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มี 52% ของนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเที่ยวในประเทศต่อวันต่อคนไม่เกิน 3,000 บาท ขณะที่มี 50% ของนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเที่ยวต่างประเทศต่อวันต่อคนเกิน 10,000 บาท อย่างไรก็ตาม มี 54% ผู้บริโภคที่ปรับตัวด้วยการลดความถี่การเที่ยว และมี 43% วัยรุ่น/วัยเริ่มทำงานที่ประหยัดค่าอาหารระหว่างเที่ยว

เปิดเผยต่อไปว่า ชาวไทยเผย 4 วิธีที่นักท่องเที่ยวไทยเลือกใช้ในการปรับตัวเรียงตามลำดับ คือ 1.มีถึง 54% วิธีลดความถี่ในการท่องเที่ยว 2. มี 49% วิธีลดช็อปปิงสินค้า 3.มี 49% วิธีเลือกที่พักที่ราคาประหยัดมากขึ้น และ 4. มี 44% วิธีชะลอแผนการท่องเที่ยว โดยกลุ่มผู้ที่เผชิญภาวะรายได้ไม่พอจ่ายจะมีการปรับพฤติกรรมการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก โดยผู้มีปัญหาทางการเงินบ่อยครั้งจะเลือกชะลอแผนการท่องเที่ยวมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนผู้มีปัญหาเป็นบางครั้งจะเลือกลดความถี่ในการท่องเที่ยวแทน นอกจากนี้ ช่วงอายุที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการปรับตัวที่แตกต่างกันด้วย โดยกลุ่มวัยรุ่น/วัยเริ่มทำงานกับกลุ่มผู้สูงวัย จะพยายามคงแผนท่องเที่ยวเดิมแต่จะเลือกปรับพฤติกรรมการเที่ยวแทน เช่น กลุ่มวัยรุ่น/วัยเริ่มทำงานจะยอมลดความสะดวกสบายในระหว่างท่องเที่ยวด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ ทั้งการเลือกที่พักราคาสบายกระเป๋าและการประหยัดค่าอาหาร ส่วนกลุ่มผู้สูงวัยจะเลือกปรับตัวด้วยการเปลี่ยนแผนมาเที่ยวในประเทศมากขึ้นหรือใช้บริการกรุ๊ปทัวร์เพื่อลดค่าใช้จ่าย ขณะที่กลุ่มวัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูงจะเลือกชะลอแผนการท่องเที่ยวออกไปมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

แม้นักท่องเที่ยวไทยจะได้รับแรงกดดันด้านกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มผู้มีสถานะการเงินที่มั่นคงยังมีแนวโน้มใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ไม่มีภาระหนี้ กลุ่มรายได้ดี และโดยเฉพาะกลุ่มที่คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นก็ยิ่งมีแนวโน้มใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่กลุ่มผู้มีสถานะการเงินเปราะบางมากกว่าครึ่งหนึ่งมีแนวโน้มท่องเที่ยวลดลงหรือยกเลิกแผนเที่ยว

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวในประเทศจะอยู่ที่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อวัน และการใช้จ่ายเฉลี่ย สำหรับการท่องเที่ยวต่างประเทศจะอยู่ที่ขั้นต่ำ 10,000 บาทต่อคนต่อวัน โดยนักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQIA+ และกลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่างประเทศสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles