นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงการที่มีความพร้อมและเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ได้ หลังมีการแถลงนโยบายต่อสภาฯ แล้ว จำนวน 14 โครงการ โดยส่วนหนึ่งเป็นโครงการที่เคยเสนอไปครม.ชุดที่แล้วแต่ยังไม่ได้บรรจุวาระ ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะส่งเรื่องคืนมาที่กระทรวง อีกส่วนเป็นโครงการที่มีการศึกษาแล้วเสร็จและพร้อมนำเสนอครม.พิจาณณา
“กระทรวงฯ จะเร่งยืนยันและเสนอไปครม. และโครงการที่มีการศึกษาแล้วเสร็จและพร้อมนำเสนอครม. ก็จะเร่งนำเสนอไปเช่นกัน“
โครงการที่พร้อมเสนอครม. 14 โครงการ รวมวงเงินลงทุนประมาณ 7.98 แสนล้านบาท มีดังนี้
1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุน 56,035 ล้านบาท ใช้รูปแบบการลงทุน PPP Net Cost เป็นเส้นทางแรก ซึ่งเป็นไปตามการศึกษาที่พบว่า มีความคุ้มค่าที่เอกชนจะลงทุน 100%
2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 หรือ M9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ช่วงบางบัวทอง–บางปะอิน ระยะทาง 35 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 16,986 ล้านบาท
กรมทางหลวง จะดำเนินการเอง โดยเสนอขอใช้เงินกู้ก่อสร้างงานโยธา และใช้เงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์ ติดตั้งระบบเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง รวมถึงบริหารจัดการ อำนวยความสะดวกและปลอดภัยและซ่อมบำรุง
3. โครงการมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5) สายรังสิต–บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท ลงทุน รูปแบบ PPP Gross Cost โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธาและการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M) รัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ค่าผ่านทาง และจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการให้แก่เอกชน และรัฐใช้คืนค่าก่อสร้างภายหลัง ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ จะเริ่มจ่ายค่างานโยธาเมื่องานก่อสร้างเสร็จแล้ว
4. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง รังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงินลงทุน 6,473.98 ล้านบาท
5. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช–ตลิ่งชัน–ศาลายา ระยะทางรวม 20.5 กม. วงเงินโครงการ 15,176.21 ล้านบาท
6. โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย
1) เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ–อุบลราชธานี ระยะทาง 307.60 กม. วงเงินลงทุน 44,095.36 ล้านบาท
2) เส้นทาง ปากน้ำโพ–เด่นชัย ระยะทาง 280.54 กม. วงเงินลงทุน 81,143.24 ล้านบาท
3)เส้นทาง ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 44.50 กม. วงเงินลงทุน 7,772.90 ล้านบาท
4)เส้นทาง ชุมพร–สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168.20 กม. วงเงินลงทุน 30,422.53 ล้านบาท
5)เส้นทาง สุราษฎร์ธานี–ชุมทางหาดใหญ่–สงขลา ระยะทาง 321.00 กม. วงเงินลงทุน 66,270.51 ล้านบาท
6)เส้นทาง เด่นชัย–เชียงใหม่ ระยะทาง 189.00 กม. วงเงินลงทุน 68,222.14 ล้านบาท
7. โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 357 กม. มูลค่า 341,351.42 ล้านบาท ปัจจุบันบอร์ดรฟท.เห็นชอบและเสนอมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว เพื่อเสนอครม.ต่อไป สถานะโครงการ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ รฟท.อยู่ระหว่างนำเสนอรายงาน EIA คาดว่าเปิดให้บริการปี 2574
8. โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ในระยะที่ 1 (ถนนประเสริฐมนูกิจ–ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก) หรือ ตอน N2 เดิม ระยะทาง 11.3 กม. มูลค่าลงทุน 16,960 ล้านบาท
9. โครงการทางด่วน สายกะทู้ – ป่าตอง จ.ภูเก็ต หรือโครงการอุโมงค์ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. วงเงินโครงการประมาณ 16,190 ล้านบาท