ชาวสวนกาแฟในเวียดนามแห่ปลูกทุเรียนป้อนตลาดจีน รายได้สวยรับมือต้นทุนสบาย

ชาวสวนกาแฟใน เวียดนาม แห่ปลูก ทุเรียน ป้อนตลาดจีน รายได้สวยรับมือต้นทุนสบาย

เจ้าของร้านกาแฟเก่าแก่และชื่อดังในกรุงฮานอยอย่างร้ายมีชื่อว่า เกียง (Giang) เปิดมานานถึง 78 ปี หรือร้านกาแฟยุคสมัยใหม่ มาถึงเกษตรปลูกกาแฟในเวียดนามต่างบ่นกันยกใหญ่ มีถึงขั้นถอดใจกับการขายเครื่องดื่มกาแฟ หรือปลูกกาแฟ ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟใหญ่อันดับ 2 ของโลก ที่สำคัญ เวียดนามเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ใหญ่อันดับ 1 ในโลก แต่เกษตรกรปลูกต้นกาแฟชาวเวียดนามจำนวนมากได้หันไปปลูกต้นทุเรียนโดยใช้พื้นที่สวนกาแฟเดิม ทำให้พื้นที่ปลูกกาแฟในเวียดนามลดลง กระทบถึงปริมาณเมล็ดกาแฟในตลาดโลกลดลง

ทุเรียนได้รับความนิยมอย่างมากมายในประเทศจีน ประกอบกับรัฐบางการส่งออกจีนอนุญาตให้เวียดนามส่งออกทุเรียนได้ในปี 2022 ทำให้การส่งออกทุเรียนของเวียดนามไปจีนมีมูลค่าสูง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 74,000 ล้านบาทในปีผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงมากถึง 5 เท่าจากปี 2022 และมีแนวโน้มชัดเจนว่าการส่งออกทุเรียนไปจีนของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2024 นี้

ด่านโหย่วอี้กวนหรือด่านมิตรภาพบนพรมแดนจีน-เวียดนามที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน มีการนำเข้าทุเรียนสดในไตรมาสแรกปีนี้รวม 48,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,850 ล้านหยวน (ราว 9,250 ล้านบาท) โดยอันดับ 1 เวียดนามส่ง 35,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 เมื่อเทียบปีต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1,280 ล้านหยวน (ราว 6,400 ล้านบาท) อันดับ 2 ไทย 13,000 ตัน ลดลงร้อยละ 59.5 คิดเป็นมูลค่า 570 ล้านหยวน (ราว 2,850 ล้านบาท) แต่กลับลดลงร้อยละ 63.5 เมื่อเทียบปีต่อปี

เกษตรกรชาวเวียดนามทยอยเปลี่ยนปลูกพืชหลายชนิดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 เช่น พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง พบว่า มีการเปลี่ยนจากการปลูกต้นขนุนและข้าวไปเป็นต้นทุเรียน สอดรับกับเกษตรกรในที่ราบสูงตอนกลางของประเทศเวียดนาม หันมาปลูกทุเรียนบนพื้นที่เดิมที่เคยเป็นไร่กาแฟ และพริกไทย ที่สำคัญ ทุเรียนขายได้ราคาดีกว่า ซึ่งมีรายได้มากพอที่จะรับมือกับต้นทุนทั้งปุ๋ยและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น

ปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้เกิดภัยแล้งในแถบหรือาเซียน สถานการณ์อากาศร้อนจัด และความชื้นที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ต้นกาแฟมีผลผลิตไม่ดี นอกจากนี้ การจะหาพื้นที่ปลูกกาแฟทดแทนพื้นที่ที่หายไปนั้นเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากกาแฟเติบโตดีที่สุดในเขตร้อน การต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า ทั้งหมดเป็นข้อจำกัดมากในการหาพื้นที่เพิ่มเติมจากพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรอยู่แล้ว

องค์การกาแฟระหว่างประเทศ หรือไอซีโอ เปิดเผยว่า เดือนตุลาคม 2022 ถึงกันยายน 2023 เวียดนามผลิตเมล็ดกาแฟได้ทั้งสิ้น 29.2 ล้านถุง โดยมีน้ำหนักถุงละ 60 กิโลกรัม ลดลง 9.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี

มารูเบนิ ซึ่งเป็นบริษัทเทรดดิ้งนำเข้า-ส่งออกรายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันราคากาแฟโรบัสต้าสูงขึ้นมาก มาจากบริษัทใหญ่ ๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังเปลี่ยนการใช้เมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าคุณภาพเกรดพรีเมียม ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มาใช้เมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่มีราคาไม่แพงนัก เพื่อตอบสนองต่อต้นทุนการขนส่งและเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยเชิงโครงสร้างอย่างเช่นการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนก็มีส่วนดันราคากาแฟโรบัสต้าขึ้นด้วยเช่นกัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 ถึงกันยายน 2023 การบริโภคกาแฟโรบัสต้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนทั้งสิ้น 44.5 ล้านถุง (ขนาด 60 กิโลกรัม) มากกว่า 1 ใน 4 ของการบริโภคทั่วโลก และเพิ่มขึ้น 12% จาก 4 ปีก่อนหน้านั้น ขณะที่การบริโภคทั่วโลกโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียง 1% ในช่วงเวลาเดียวกันนี้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2024 ไอโอซี (IOC) เปิดเผยว่า ราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้า ในเดือนเมษายนที่ผ่านไป มีราคาพุ่งทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 45 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา ซึ่งในปีดังกล่าวราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้ามีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 195.50 เซ็นต์/ปอนด์ สอดรับกับ ราคาชี้วัดกาแฟขายส่งหรือ คอมโพสิท อินดิเคเตอร์ ไพรส์ CIP ขององค์กรกาแฟนานาชาติ พบว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านไปมีราคาพุ่งทะยานขึ้นแตะที่ระดับ 216.89 เซ็นต์/ปอนด์ พุ่งสูงขึ้นถึง 16.4% เมื่อเทียบกับราคาดังกล่าวในเดือนมีนาคมที่ผ่านไป นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2023 ยังพบว่า มีราคาพุ่งสูงทะยานถึง 21.5%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles