ตลาดซื้อขาย ทองคำโลก ในเอเชีย ฮ่องกง รายงานว่า วันนี้ 1 เมษายน 2024 เวลา 16.30 น. เวลาฮ่องกง ซึ่งตรงกับเวลา 15.30 น. ตามเวลาไทย ปรากฎว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดตลาดที่ 2,261.14 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +72.05 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.40% เมื่อเทียบกับราคาปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคมผ่านมา ส่งผลทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ในตลาดเอเชีย
ก่อนหน้านี้ ช่วงเปิดตลาดเช้าวันนี้มาได้เพียง 35 นาที ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot พุ่งขึ้นที่ 2,220.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +31.71 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.00% เมื่อเทียบกับราคาปิดที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคมผ่านมา ส่งผลทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ สอดรับกับ ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ เคลื่อนไหวที่ระดับ 2,256.44 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +18.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.2% ส่งผลทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่
ก่อนหน้านี้ ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,220.8 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +46.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.22% ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,225.09 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ ส่งผลราคาปิดขึ้น 4 วันติดกันรวม +71.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.42%
ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,238.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +25.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.6% ส่งผลทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ที่สำคัญ ส่งผลราคาปิดขึ้น 4 วันติดกันรวม +79.20 พี่ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.64%
ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาทองคำปิดเพิ่มขึ้น +2.7% เดือนมีนาคมนี้ ทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 9% ทำสถิติทองคำรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปี 8 เดือน หรือตั้งแต่กรกฎาคม 2020 นอกจากนี้ ราคาทองคำปิดขึ้น +8% ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลเป็นราคาทองคำที่ปิดบวกติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2024 ผ่านมา ราคาทองคำสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ที่ตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ ไปอยู่ที่ 2,1949.99 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ ราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเอเชียอยู่ที่ 2,222.39 ดอลลาร์สหรัฐ
สาเหตุจากนักลงทุนมีความมั่นใจสูงกับแนวโน้มการลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาคของโลกที่ยังมีความรุนแรงต่อเนื่อง เช่น ยูเครนกับรัสเซีย
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง สอดรับกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ลดลง ด้านตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในเดือนมิถุนายนนี้อยู่ที่ 64% จากเดิมที่ 71%