สำนักข่าวเอเอฟพี ซึ่งเป็นสำนักข่าวชื่อดังระดับโลก เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นบนท้องถนนในประเทศไทย โดยตั้งชื่อประเด็นว่า “ทำไมถนนของประเทศไทยถึงอันตรายถึงชีวิตอย่างมาก” หรือ Why are Thailand’s roads so deadly? หลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมเพลิงไหม้รถบัส 2 ชั้นทัศนศึกษาทั้งคันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 23 รายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา
เอเอฟพี เปิดคำถามแรกว่าความอันตรายมีมากแค่ไหน? ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนโดยเฉลี่ยราว 20,000 คนในประเทศไทย นั่นหมายถึงโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผู้เสียชีวิตบนท้องถนนในประเทศไทยวันละ 50 รายขึ้นไป องค์การอนามัยโลก(WHO) หรือดับเบิลยูเอชโอ เปิดเผยว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตบนถนนร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นรองจากอันดับ 1 คือประเทศในเนปาล ที่สำคัญ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 16 ของโลกสำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนและนำไปสู่การเสียชีวิต คู่กับประเทศชาด(Chad) และประเทศกินี-บิสเซา (Guinea-Bissau) ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันตก
สถิติที่น่ากลัวยังพบว่า ในปี 2021 มีผู้เสียชีวิต 25.7 ราย จากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อทุกๆประชากร 100,000 คนในประเทศไทย ที่น่าสนใจคืออัตราดังกล่าวของประเทศไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 1.7 เท่า ซึ่งค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ระดับ 15 รายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อทุกๆประชากร 100,000 คน
ด้านศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนประเทศไทย หรือ Thai RSC เปิดเผยว่า ในปี 2024 นี้จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีอุบัติเหตุบนท้องถนนที่นำไปสู่การเสียชีวิตสะสมรวมกว่า 10,000 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 600,000 คน สถิติที่น่าสนใจยังพบว่า ผู้เสียชีวิต 4 จาก 5 ราย หรือ 80% เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวนับว่าสูงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 1 จาก 5 ราย หรือ 20% ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ นั่นหมายถึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 4 เท่าตัว
องค์การอนามัยโลก(WHO) หรือดับเบิลยูเอชโอ เปิดเผยต่อไปว่า ในปี 2021 อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการจราจรบนท้องถนนในประเทศไทยคิดเป็น 1 ใน 3 หรือ 33% ของสาเหตุของการเสียชีวิตในภาพรวมของประชาชนทั้งหมดในประเทศไทย ดังนั้น ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2022 ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุบนการจราจรตามท้องถนนจึงมีสูงมากถึง 15,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 527,000 ล้านบาท ซึ่งนั่นหมายถึงมีผลกระทบมากกว่า 3% ของขนาดเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีประเทศไทย
คำถามต่อมาคือ ทำไมจึงเป็นอันตรายที่น่าหวาดกลัว? สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า การเร่งใช้ความเร็วสูง การขณะขับขี่การออกแบบถนนที่แย่ และยานยนต์ที่ไม่มีความปลอดภัย การตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของยานยนต์กลายเป็นสิ่งที่หละหลวมและเกิดขึ้นในประเทศไทย สิ่งที่แทบจะเห็นได้บ่อยครั้งบนท้องถนนในกรุงเทพและเมืองขนาดใหญ่ คือการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัยกันทุกคัน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานด้วยว่า รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและรุนแรงเกี่ยวกับการจราจรในประเทศไทยกลายเป็นเรื่องที่พูดถึงบ่อยครั้งโดยเฉพาะการติดสินบนที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติงานบนถนน ทั้งหมด คือสาเหตุของความอันตรายที่น่ากลัวบนท้องถนนในประเทศไทย