ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,338.05 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -3.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.6% หยุดราคาทองคำปิดขึ้น 3 วันติดต่อกันรวม +49.97 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.0% ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024 ทองคำปิดที่ระดับ 2,342.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,353.79 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์
ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,356.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -4.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.2% หยุดราคาทองคำปิดขึ้น 3 วันติดต่อกันรวม +49.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.4% ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2024 ทองคำปิดที่ระดับ 2,365.09 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์
ในสัปดาห์ผ่านไป ราคาทองคำปิดเพิ่มสูงขึ้นถึง+4% และยังเป็นราคาทองคำรายสัปดาห์ที่ปิดขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่อง จบเดือนมีนาคมนี้ ทองคำตลาดโลกพุ่งทะยาน 9% ทำสถิติทองคำรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปี 8 เดือน หรือตั้งแต่กรกฎาคม 2020 นอกจากนี้ ราคาทองคำปิดขึ้น +8% ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลเป็นราคาทองคำที่ปิดบวกติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 อีกด้วย
สาเหตุจากนักลงทุนขายทำกำไรช่วงสั้นๆ หลังจากอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคทั่วไปและขั้นพื้นฐานเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ เพิ่มขึ้น 0.4% ทั้งคู่ ซึ่งสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่ม 0.3% สอดรับกับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านไป พบว่าเพิ่มขึ้น 3.5% และ 3.8% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ 3.4% และ 3.7% ตามลำดับ ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐสหรัฐอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเหนือระดับ 4.0% ครั้งใหม่ และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าสูงขึ้นถึง 0.5% สะท้อนความกังวลว่าการลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐในปีนี้อาจล่าช้า และมีจำนวนครั้งที่จะลดดอกเบี้ยน้อยลงกว่าที่คาดไว้
สภาทองคำโลก หรือดับเบิลยูจีซี (WGC) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางจีนแผ่นดินใหญ่ซื้อทองคำแท่งอีก 160,000 เมตริกตันเข้าสะสมในทุนสำรองระหว่างประเทศเมื่อเดือนมีนาคม 2024 นับเป็นเดือนที่ 17 ต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ และความเสี่ยงเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินเดีย ตุรกี คาซัคสถาน และอื่นๆในทวีปยุโรปตะวันออกเพิ่มการซื้อทองคำเข้าทุนสำรองระหว่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ ตัวชี้วัดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในเดือนมิถุนายนนี้อยู่ที่ 53% จากเดิมที่ 52%