แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) เปิดเผยบทความ
ทำเลแลนด์มาร์กและย่านนวัตกรรมเพื่ออนาคต นับจากที่มีการประกาศโครงการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก พร้อมกับโครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่มูลค่าหลายแสนล้าน นักลงทุนและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างก็หันหัวเรือมุ่งมาสู่ทำเลหลักที่ได้รับอานิสงส์จาก EEC อย่างทำเลบางนา–ตราด
โดยจะเห็นความตื่นตัวของโครงการต่างๆ นับจากจุดตัดระหว่างถนนบางนา–ตราด ขาออกสู่ชลบุรีและถนนสุขุมวิทขาออกสู่สมุทรปราการ ไปจนถึงบางนา–ตราด กม.10 ผู้ประกอบการชั้นนำพร้อมใจกันมาปักธงสร้างแลนด์มาร์กกันยกใหญ่ จนกระทั่งเกิดการชะลอตัวกันไปชั่วคราวจากวิกฤตการณ์โควิด-19
เมื่อโควิด-19 จบลงในปี 2565 ย่านบางนา–ตราดก็กลับมาคึกคักกว่าทำเลอื่นๆ อีกครั้งอย่างเห็นได้ชัด โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลากหลายรูปแบบ มูลค่าการลงทุนไซส์หมื่นล้านไปถึงแสนล้านบาทต่างผุดขึ้นในบริเวณสองข้างถนนกันอย่างครึกครื้น
ไม่ว่าจะเป็น community malls ใหญ่เล็กต่างๆ หรือจะเป็น specialty mall ของสินค้าเฉพาะทาง ไปจนถึงอาคารสำนักงานไฮเทค มิกซ์ยูส ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่ใกล้เปิดให้บริการในปีนี้ รวมทั้งโครงการที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าโครงการสูงถึง 125,000 ล้านบาทอย่าง เดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งผู้พัฒนาโครงการอย่าง MQDC พัฒนาแบบ Theme Project ซึ่งเน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
โดยมีป่าและพื้นที่สีเขียวถึง 56% ทั้งที่อยู่อาศัยในคอนเซ็ปต์ต่างๆ ที่มีทั้งสำหรับคนรุ่นใหม่ในราคาจับต้องได้ไปจนถึง ultra luxury อย่างแบรนด์ ซิกเซนส์ (Six Senses) มีทั้งพื้นที่ไลฟ์สไตล์ ให้การใช้ชีวิตท่ามกลางพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่รวมครบจบในที่เดียว ซึ่งบางส่วนของโครงการอย่าง คอนโดฯ Whizdom สองอาคารแรกเสร็จสมบูรณ์ มีผู้เข้าอยู่อาศัยแล้ว และกำลังมีโครงการอื่นเสร็จตามๆ กันมา
ยิ่งเมื่อวิเคราะห์ต่อไปถึงทำเลเชื่อมต่อถึงกันอย่างย่านนวัตกรรม อินโนเวชั่น ดิสทริค หรือ Innovation District หรือย่านสุขุมวิทใต้ ซึ่งนับจุดเริ่มต้นที่อ่อนนุช ปุณณวิถี อุดมสุข มาจนถึงถนนบางนา–ตราด จากการศึกษาของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) พบว่าความเจริญจากถนนสุขุมวิทใต้มาเชื่อมต่อกับบริเวณจุดตัดสี่แยกบางนา–ตราด และพัฒนาต่อมาตามแนวถนนบางนา–ตราด จึงช่วยเติมเต็มให้ทำเลบางนา–ตราด กลายเป็นทำเลทอง
โดยย่านนวัตกรรมช่วยดึงดูดให้บริษัทชั้นนำหลายแห่งย้ายสำนักงานใหญ่จากในเมืองมาอยู่ตั้งสำนักงานไฮเทคในย่านนี้ ทำให้ย่านสุขุมวิทตอนใต้และบางนา–ตราดเชื่อมกันเป็นทำเลทอง โครงการแลนด์มาร์กที่กำลังผุดขึ้น อาทิ ช้อปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมแม่เหล็กสำคัญของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย นั่นคือโรงเรียนอินเตอร์แบรนด์ดังจากทั่วโลกจนถึงปัจจุบันรวมกันเกือบ 20 แห่งอย่างคอนคอร์เดียน, เวอร์โซ, เซนต์แอนดรูส์ โรงพยาบาลเอกชนอีก 11 แห่ง
ทำให้ทำเลนี้รายล้อมด้วยความสะดวกสบายครบครัน เรียกได้ว่าไม่ต้องฝ่ารถติดกลางเมืองก็ยังคงไลฟ์สไตล์แบบฮิปๆ ได้ดังเดิม ทำให้ทำเลบางนา–ตราด ในปีนี้กำลังกลายเป็นศูนย์รวมแลนด์มาร์กของเมืองอย่างแท้จริง
ทำเลทองของการลงทุน โดยจากสถิติของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในช่วงไตรมาสสี่ปี 2566 ที่ดินในย่านบางนา–ตราด ต่อเชื่อมจากสุขุมวิทไปถึงรอบโซนสุวรรณภูมิ บริเวณเขตลาดกระบังและกาญจนาภิเษก เป็นโซนที่ราคาที่ดินพุ่งสูงที่สุดถึง 51.3% เมื่อเทียบกับโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลโซนอื่นๆ ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะมีโครงการอาคารสำนักงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้ทำเลนี้กลายเป็นย่านเนื้อหอมแห่งการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ดึงดูดผู้คนให้ย้ายมาอยู่อาศัยในแถบนี้ เกิดความหลากหลายของชุมชนใหม่ ทั้งพนักงานออฟฟิศ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงบุคลากรจากองค์กรชั้นนำตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับผู้บริหาร ทั้งไทยและ expat เพิ่มขึ้นอีกร่วม 250,000 คน ทำให้ความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามในอัตราก้าวกระโดด
ด้วยเหตุนี้ เหล่านักลงทุนอสังหาริมทรัพย์จึงหันมาจับตามองทำเลเด่นอย่างบางนา–ตราด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรืออาคารชุดพักอาศัย ไม่ว่าจะเช่าหรือซื้อขาด ก็ให้กำไรกับนักลงทุน
โครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงครอบคลุมสี่มุมเมืองนั้น สำหรับโครงการแหล่งสร้างเศรษฐกิจใหม่อย่าง EEC คมนาคมที่เชื่อมถึงและสะดวกสบายเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณกระหน่ำเพื่อพัฒนาโครงข่าย ตั้งแต่ทางด่วนลอยฟ้าเหนือถนนบางนา–ตราดจากกรุงเทพฯ ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี เชื่อมโยงกับทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์จากพระรามเก้าไปถึง จ.ชลบุรี แล้ว ยังมีวงแหวนกาญจนาภิเษกที่เชื่อมคมนาคมจากสี่มุมเมืองทั้งทิศเหนือ ใต้ และตะวันตก เชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีเหลืองซึ่งเชื่อมกับรถไฟฟ้าเส้นหลักที่ถนนศรีนครินทร์ก็เปิดใช้งานแล้วเช่นกัน
ด้านโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็มีแผนขยายเพิ่มไปจนถึง 5 เฟส ทั้งอาคารผู้โดยสาร อาคารเทียบเครื่องบิน รันเวย์ เพื่อรองรับคนเดินทางได้ถึง ซึ่งปัจจุบันเฟสที่ 2 และ 3 กำลังก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จเพื่อทยอยเปิดใช้งานได้ในครึ่งปีหลังนี้
นอกจากนี้ โครงการใหม่อย่าง LRT Bangna – Suvarnabhumi หรือโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนานเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีจำนวน 14 สถานี เชื่อมต่อการเดินทางกรุงเทพฯ กับ จ.สมุทรปราการ และ โครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) เพื่อต่อเชื่อมการเดินทางระหว่างสามสนามบิน ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา ที่อยู่ระหว่างขยายเส้นทาง รวมถึงอยู่ระหว่างการดำเนินงาน ทำให้ทำเลนี้น่าจะเป็นทำเลที่มีการคมนาคมที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศก็ว่าได้ ทำเลบางนา–ตราดจึงนับเป็นทำเลที่เป็น “ดาวรุ่ง” ในหลายด้านทั้งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การอยู่อาศัย และการลงทุนในยุคนี้