ธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีไทยแห่ปิดตัวปีละ 7% พีคสุดปิดกิจการพุ่งกว่า 13% กว่า 2,500 รายในปีเดียว กว่า 26% หรือเกินกว่า 1 แสนรายขาดทุนใน 3 ปีติดกัน เอสเอ็มอีไทยอยู่รอดน้อยลงมากหลังเปิดกิจการได้ 3 ปี

ธุรกิจขนาด เอสเอ็มอี ไทยแห่ปิดตัวปีละ 7% พีคสุดปิดกิจการพุ่งกว่า 13% กว่า 2,500 รายในปีเดียว กว่า 26% หรือเกินกว่า 1 แสนรายขาดทุนใน 3 ปีติดกัน เอสเอ็มอีไทยอยู่รอดน้อยลงมากหลังเปิดกิจการได้ 3 ปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าธุรกิจขนาดเอสเอ็มอี SMEs ของไทย ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1 ใน 3 หรือประมาณ 35% ของขนาดเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญหลายปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะผลของสงครามการค้ารอบใหม่ และการแข่งขันกับสินค้านำเข้า ท่ามกลางตลาดในประเทศที่เติบโตต่ำ ส่งผลให้ยังเสี่ยงขาดทุนหรือปิดตัวต่อ จากที่ก่อนหน้านี้ ถูกกระทบจากปัญหาโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ทำให้มีการปิดตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7% ต่อปี

ใน 4 ปีผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2564–2567 พบว่า ธุรกิจ SMS ไทยปิดตัวเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกัน มีดังนี้ ปี 2564 ปิด 19,237 รายปี 2565 ปิด 21,765 ราย ปี 2566 ปิด 23,280 ราย และปี 2567 ปิด 23,551 ราย โดยระหว่างปี 2565 เทียบปี 2564 เอสเอ็มอีไทยปิดตัวถึง 2,528 ราย หรือพุ่งขึ้น 13% สอดคล้องกับระหว่างปี 2567 เทียบปี 2566 เอสเอ็มอีไทยปิดตัว 271 ราย หรือเพิ่มขึ้น 1.16%

ขณะที่ผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาด SMEs ในไทย พบว่ามี 26% ของธุรกิจรายเล็กและรายย่อยที่ขาดทุนต่อเนื่องในช่วง 3 ปี หรือระหว่างปี 2563–2566 ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 106,595 ราย จากธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีทั้งหมด 413,711 ราย ส่วนกลุ่มที่มีทั้งกำไรและขาดทุนสลับกันไป มีจำนวน 143,097 ราย หรือคิดเป็น 35% และกลุ่มที่ทำกำไรตลอดในช่วง 3 ปีดังกล่าวมีจำนวน 164,019 ราย หรือคิดเป็น 40% ของธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีทั้งหมด

ในปี 2567 มีธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 100 ล้านบาท ปิดกิจการอยู่ที่ 23,551 ราย หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% (ในปี 2564–2567) ขณะเดียวกัน แม้ว่าในแต่ละปีจะมีธุรกิจ SMEs ที่จัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% เช่นกัน (CAGR ปี 2564–2567) แต่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่รอดในช่วงหลัง Early stage หรืออยู่รอดหลังจัดตั้งกิจการไปแล้ว 3 ปี กลับมีทิศทางลดลง สะท้อนว่าในภาวะการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ผู้ประกอบการที่เริ่มทำธุรกิจใหม่มีแนวโน้มอยู่รอดยากขึ้น เนื่องจากยังไม่มีฐานลูกค้าประจำ และขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ปัจจัยแวดล้อมและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

ธุรกิจ SMEs ของไทยมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น จากปัจจัยท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ต้นทุนการดำเนินธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแข่งขันรุนแรงต่อเนื่องกับสินค้านำเข้าและแพลตฟอร์ม E–commerce ต่างชาติ ส่งผลกดดันต่อการสร้างรายได้และการรักษาอัตรากำไรของธุรกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยต่อไปว่า ปัจจุบันธุรกิจ SMEs ของไทย มีมูลค่าราว 6.5 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 35% ของ GDP จ้างงานกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมด โดยผู้ประกอบการไทยกว่า 3.2 ล้านราย หรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งหมด เป็น SMEs ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ธุรกิจเอสเอ็มอีในไทยเป็นแรงขับเคลื่อนขนาดเศรษฐกิจไทยเพียง 1 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่

1. ผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการต่ำ โดยธุรกิจ SMEs ในภาคการค้าและบริการของไทยที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก ยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดซัพพลายเชน ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการต้นทุนและการตั้งราคาได้ดีกว่า รวมถึงช่องทางการทำตลาด/การเข้าถึงลูกค้าหลากหลายกว่า ขณะที่ ธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิต ก็มีบทบาทเป็นเพียง Subcontractors หรือ Distributors ของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้การมีส่วนร่วมและการสร้างมูลค่าเพิ่มใน Global supply chain น้อย สะท้อนจากธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิตของไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่เพียง 7% ของการส่งออกรวมในภาคการผลิตทั้งหมด

    2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้จำกัด ถึงแม้ไทยจะมีธุรกิจที่เป็น SMEs จำนวนมาก หรือคิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมด แต่ด้วยสายป่านสั้น ความยืดหยุ่นในการปรับตัวมีจำกัด และกว่า 70% อยู่นอกระบบและเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น เมื่อเผชิญกับปัญหาหรือปัจจัยกดดันต่าง ๆ จึงทำให้ความสามารถในการแข่งขันหรือทำกำไรของ SMEs มีความเสี่ยง และส่งผลต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สะท้อนจากการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์

    3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอดยังน้อย เนื่องจากธุรกิจ SMEs มีข้อจำกัดทางด้านเงินทุน องค์ความรู้ และแรงงานทักษะสูงมีอยู่น้อย สะท้อนจากกว่า 70% ของธุรกิจ SMEs ไทย ยังคงใช้เทคโนโลยีในระดับ 2.0 (เช่น การสั่งซื้อออนไลน์ ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ทำให้เสียเปรียบจากการแข่งขันทั้งในประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงการแข่งขันกับต่างประเทศยังทำได้ยาก

    ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
    Latest Posts

    Related Articles