มหาวิทยาลัยเกษตรหัวจง เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน เปิดเผยว่าทีมงานวิจัยพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในนาข้าวประสบความสำเร็จในการค้นพบ และระบุยีนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความทนทานของพันธุ์ข้าวที่มีต่อสภาวะอากาศร้อน ในขณะที่สามารถรักษาคุณภาพ และผลผลิตของเมล็ดข้าวได้ นับเป็นการป้องกันปัจจัยคุกคามด้านอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีผ่านมาที่มีต่อการผลิตข้าว ความสำเร็จในงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการตีพิมพ์บนเว็บไซต์ของวารสารเซลล์ (Cell) ด้วย
งานวิจัยดังกล่าว ระบุว่าภายใต้อุณหภูมิสูง ยีนที่มีชื่อว่า QT12 ทำปฏิกิริยากับโปรตีนเชิงซ้อนมีชื่อว่า NF-Y เพื่อปกป้องเมล็ดข้าวเหมือนกับการสร้างกำแพง หรือไฟร์วอลล์ภายในเมล็ดข้าว มีคุณสมบัติยับยั้งความร้อนสูงในขณะที่ยังรักษาระดับแป้งและการสังเคราะห์โปรตีนให้มีเสถียรภาพเหมือนเดิม Li Yibo ผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกล่าว
ปีที่แล้วซึ่งเป็นปีที่จีนเผชิญคลื่นความร้อน และอาการร้อนจัดนั้น ทีมวิจัยพันธุ์ข่าวดังกล่าวได้ทําการทดลองในแปลงนาข้าวขนาดใหญ่ในลุ่มแม่น้ําแยงซี พบว่าผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าการใส่ยีน QT12 ลงในพันธุ์ข้าวลูกผสมชื่อว่าข้าวพันธุ์หัวซาน (Huazhan) สามารถเพิ่มผลผลิตการปลูกข้าวในเมืองอู่ฮั่นได้ 49.1% ข้าวในเมืองหางโจวได้สูงถึง 77.9 % และข้าวในเมืองฉางซาได้สูงถึง 31.2% ที่สำคัญยังสามารถปรับปรุงคุณภาพข้าวได้ด้วย ลุ่มแม่น้ําแยงซีสามารถผลิตข้าวประมาณ 2 ใน 3 ของทั้งประเทศจีน แต่อากาศที่ร้อนจัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการทํานาข้าว โดยเฉพาะผลผลิตข้าวท่ามกลางอากาศร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก
ทั้งนี้การค้นพบนวัตกรรมการปลูกข้าวท่ามกลางสภาะอากาศร้อนจัด ทำให้เกิดกลไกระดับโมเลกุลแบบใหม่ และทางออกในการการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตและคุณภาพสูงภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง จากนี้ไปทีมวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรหัวจง เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ จะได้ร่วมมือกับบริษัทในประเทศจีนเพื่อเร่งการใช้สายพันธุ์ข้าวทนอาการ้อนสูงต่อไป