ปักหมุดไทยจุดหมายปลายทางจีนระบายสินค้า สินค้าจีนทะลักไทยสูงเกือบ 4 เท่ามากกว่าค่าเฉลี่ยโลก ปีเดียวนำเข้าสินค้าจีนสูงสุดใน 12 ปี นำเข้าสินค้าจีนแซงตัวเลขเติบโตของเศรษฐกิจไทย ช็อคธุรกิจ 3 พันแห่งในไทยพลิกเป็นซื้อมาขายไปรวมถึงสวมสิทธิ์ส่งออกสินค้าจีน

ปักหมุดไทยจุดหมายปลายทางจีนระบายสินค้า สินค้าจีน ทะลักไทยสูงเกือบ 4 เท่ามากกว่าค่าเฉลี่ยโลก ปีเดียวนำเข้าสินค้าจีนสูงสุดใน 12 ปี นำเข้าสินค้าจีนแซงตัวเลขเติบโตของเศรษฐกิจไทย ช็อคธุรกิจ 3 พันแห่งในไทยพลิกเป็นซื้อมาขายไปรวมถึงสวมสิทธิ์ส่งออกสินค้าจีน

เอสซีบี อีไอซี (SCB EIC) ซึ่งเป็นสำนักวิจัยที่อยู่ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การนำเข้าของไทยขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2020 เช่นเดียวกับการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากจีนที่เพิ่มมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรมหลักของประเทศ มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทย ในช่วงปี 2020- 2024 ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 10% สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยและมูลค่าการส่งออก ส่งผลให้สัดส่วนการนำเข้าสินค้าต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นสู่ 53% ในปี 2024 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 12 ปี อีกทั้งทำให้ไทยเผชิญภาวะขาดดุลการค้าเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างนี้ปรากฏชัดขึ้นจากการที่จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง หรือครองส่วนแบ่งการนำเข้าสูงกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่ารวม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอุตสาหกรรมสำคัญของไทย เช่น เหล็ก พลาสติก และยานยนต์ หันไป พึ่งพาและกลายเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีนกันมากขึ้น

ไทยกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญในการระบายสินค้าส่วนเกินจากจีน ผนวกกับกระแสนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ และการเพิ่มจำนวนของธุรกิจที่พึ่งพา วัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก ก็ถือเป็นปัจจัยเร่งให้สินค้าจากต่างชาติโดยเฉพาะจากจีนทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คาดว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่

1) การเร่งระบายสินค้าส่วนเกินออกจากจีนซึ่งเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออก สินค้าจากจีนเข้าสู่ประเทศไทยขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า ค่าเฉลี่ย โลกถึงเกือบ 4 เท่า 2) การเติบ โตของธุรกิจแพลตฟอร์มข้ามชาติที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ไม่เพียงกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าสินค้า อุปโภคบริโภค แต่รายได้จากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์เหล่านี้ มักไม่ได้หมุนเวียนกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มที่ และ 3) การเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก (High import content) ทั้งในภาคก่อสร้าง, ร้านอาหาร, ภาคบริการ รวมถึงภาคการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก และพลาสติก

โดยธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจไทยในระดับต่ำแล้ว บางส่วนยังอาจเข้ามาลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีจากชาติตะวันตก ทำให้การดำเนินกิจการมักเน้นการนำเข้าสินค้ามาประกอบขั้นต้น ก่อนส่งออกไปยังประเทศที่สามต่อไป

สินค้านำเข้ากำลังก้าวขึ้นมามีบทบาททดแทนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ทั้งในแง่การบริโภคและการส่งออก อีกทั้ง ยังพบสัญญาณที่อาจบ่งชี้ได้ว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของไทยเกือบ 3,000 แห่งเข้าข่ายดำเนินกิจการแบบซื้อมา-ขายไป ซึ่งบางส่วนเสี่ยงที่จะเป็นเพียงโรงงานแปรรูปเบื้องต้น หรือดำเนินกิจกรรมสวมสิทธิ์ส่งออก

ผลการวิเคราะห์โดย SCB EIC พบว่า 1) การบริโภคภายในประเทศและภาคส่งออกของไทยมีแนวโน้มพึ่งพาสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลง และหันไปพึ่งพาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีนมากขึ้น ส่งผลกระทบให้ภาค อุตสาหกรรมฟื้นตัวได้ช้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเหล็กแผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน และ

2)ธุรกิจภาคการผลิตในไทยเกือบ 3,000 แห่ง อาจกำลังดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เน้นการซื้อมา-ขายไป หรือเป็นเพียง Traderซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าบางส่วนเข้าข่าย กิจกรรมสวมสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้า โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมแผงวงจร, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนยานยนต์, พลาสติก, อะลูมิเนียม และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ทั้งนี้ผลกระทบจากแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยต้องเผชิญความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น อีกทั้ง ในระยะยาวโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอาจค่อย ๆ เปลี่ยนจาก ‘ประเทศผู้ผลิต’ ไป สู่บทบาท “ผู้ซื้อและประเทศทางผ่าน’ ในห่วง โซ่อุปทานโลกและทำให้เกิดการเสื่อมถอยอย่างต่อเนื่องของ กิจกรรมการผลิตภายในประเทศ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles