ปีทองจริง! โรงเรียนนานาชาติในไทยแห่ผุดพรึบสวนทางทั้งนักเรียนไทยและโรงเรียนไทยปิดตัว

ปีทองจริง! โรงเรียนนานาชาติ ในไทยแห่ผุดพรึบสวนทางทั้งนักเรียนไทยและโรงเรียนไทยปิดตัว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า จำนวนโรงเรียน ในปี 2567 ภาพรวมจำนวนโรงเรียนลดลง 0.5% จากปี ก่อนหน้า แตะ 33,098 โรงเรียน แต่หากเทียบกับปี การศึกษา 2555 จะหดตัวถึง 6.6% หรือคิดเป็นราว 2,355 โรงเรียน เนื่องจากภาพรวมจำนวนนักเรียนมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ทำให้ในระหว่างปีการศึกษา 2555-2567 เกิดการทยอยปิดตัวของโรงเรียน โดยโรงเรียนรัฐบาลมีอัตราการลดลงเฉลี่ยถึง 0.6% ต่อปี รวมไปถึงโรงเรียนเอกชนหลักสูตรไทยก็มีแนวโน้มลดลงเฉลี่ย 0.7% ต่อปี ในทางตรงข้าม จำนวนโรงเรียนนานาชาติกลับเติบโตเฉลี่ย 5.0% ต่อปี สวนทางกับโรงเรียนประเภทอื่น สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกิจการโรงเรียนสู่หลักสูตรการศึกษาต่างประเทศมากขึ้น

แนวโน้มธุรกิจโรงเรียนนานาชาตินั้น การแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติ พบว่า โรงเรียนนานาชาติมีแนวโน้มขยายตัวสู่นอกกรุงเทพฯมากขึ้น ในช่วงปี 2555-2567 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี ของจำนวนนักเรียนและจำนวนโรงเรียนนานาชาติที่ตั้งในภูมิภาคอื่นจะสูงกว่า
ของกรุงเทพฯ ถึง 4.3% และ 6.3% ตามลำดับ โดยพบว่า ด้านจำนวนนักเรียนนานาชาติมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในกรุงเทพอยู่ที่ 5.3% ขณะที่ตามต่างจังหวัดอยู่ที่ 9.6% สอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนนานาชาติ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในกรุงเทพอยู่ที่ 2.4% ขณะที่ตามต่างจังหวัดอยู่ที่ 8.7%

การแข่งขันในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่จำกัดทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติต้องสำรวจตลาดใหม่ๆ ในหัวเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ ระยอง และภูเก็ต เป็นต้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจใน 21 เมืองหลักได้เติบโตในอัตราที่สูงกว่ากรุงเทพฯ โดยในปี 2565 อัตราการเติบโต GDP ต่อหัวของ 21 เมืองหลักสูงกว่ากรุงเทพฯ ถึง 2% ซึ่งทำให้ตลาดนอกกรุงเทพฯ ดูน่าสนใจมากขึ้น

แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นโอกาสขยายธุรกิจโรงเรียนนานาชาติไปยังพื้นที่นอกกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาคกลางและตะวันออก ซึ่งน่าจะเป็นตลาดศักยภาพ เพราะมีจำนวนวนครัวเรือนรายได้เกิน 100,000 บาทต่อเดือน รองจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจำนวนครัวเรือนมีรายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป พบว่า กรุงเทพ-ปริมณฑล 201,649 บาท ภาคกลาง-ตะวันออก 113,082 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) 65,590 บาท ภาคใต้ 64,863 บาท และภาคเหนือ 63,005 บาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนครัวเรือนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนน้อยกว่ากรุงเทพฯ ทำให้ผู้ประกอบการอาจจะต้องปรับลดค่าเล่าเรียนให้สอดคล้องกับรายได้ผู้ปกครองที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ ตลาดโรงเรียนนานาชาติในไทยนั้น คาดว่าในปี 2567 มูลค่าตลาดโรงเรียนนานาชาติไทยจะเติบโตราวร้อยละ 13 จากปี 2566 แตะ 8.7 หมื่นล้านบาท โดยมีการเติบโตตั้งแต่ปี 2563 ที่ 57,000 ล้าน ปี 2564 ที่ 60,000 ล้าน ปี 2565 ที่ 66,000 ล้าน ปี 2566 ที่ 77,000 ล้าน รวมเติบโต 4 ปีติดกันก่อนถึงปีนี้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles