ในงานสัมมนา “Big Heart Big Impact สร้างโอกาสคนตัวเล็ก..Power of Partnership จับมือไว้ไปด้วยกัน” นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “สร้างไทยเข้มแข็งด้วยท้องถิ่นนิยม Localism Future of Thailand” โดยระบุว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น ประเทศไทยจะไม่สามารถเติบโตในรูปแบบเดิมได้แล้ว โดยต้องมองหาการเติบโตในรูปแบบใหม่ โดยสิ่งที่สะท้อนว่าประเทศไทย จะไม่สามารถเติบโตในแบบเดิมได้แล้วจากอัตราการขยายตัว เศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้สะท้อนความมั่งคั่งของครัวเรือนมากขึ้น แม้ว่าในการเติบโต Norminal GDP จะเติบโตจาก 100 เป็น 180 แต่เมื่อพิจารณาจากรายไดัครัวเรือนยังค่อนข้างห่างพอสมควร และมองไปข้างหน้า GDP มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งการเน้นเติบโตของ GDP แต่รายได้ครัวเรือนไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก
ขณะที่ สัดส่วนรายได้ธุรกิจ จะพบว่าธุรกิจรายใหญ่ ที่มีสัดส่วน 5% แต่กลับมีรายได้มากถึง 80-90% จากเดิมอยู่ที่ 84-85% ซึ่งเห็นการกระจุกตัวขึ้นมากขึ้น และหากดูธุรกิจตัวเล็ก หรือธุรกิจเกิดใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี มีอัตราการปิดกิจการมากขึ้น สะท้อน Dynamic ในการขับเคลื่อนกระจุกตัว รวมถึงโลกเปลี่ยนแปลงความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไทยจะพึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แบบเดิมไม่ได้ ซึ่งในปี 2544-2548 มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 0.57% สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุน FDI ของไทยค่อนข้างทรงตัว (Flash) ในทางกลับกันเวียดนาม และอินโดนีเซียพุ่งสูงขึ้น สะท้อนว่าไทยจะนั่งเพื่อรอ FDI เข้ามาไม่ได้แล้ว เพราะไทยไม่ได้มีเสน่ห์เหมือนเดิม
ทั้งนี้การเติบโตรูปแบบใหม่ จะเป็นการเติบโตแบบยั่งยืน และมีฐานที่กว้าง ซึ่งเป็นการเติบโตแบบ More Local เน้นการเติบโตแบบท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันประชากร 80% อยู่นอกพื้นที่กทม. ปริมณฑล ซึ่งต้องสร้างความมั่งคั่งนอกพื้นที่ ภาคธุรกิจประมาณ 80% อยู่นอกพื้นที่ กทม. ปริมณฑล ซึ่งหากดูสัดส่วนประชากรเมืองหลวง และประชากรเมืองรอง ยังมีช่องว่างอีกมหาศาล และจากตัวเลข World Bank สะท้อนว่าการเติบโต GDP สูง แต่การเติบโตของประชากรเพียง 0.22% เท่านั้น
ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า การเติบโตแบบท้องถิ่น จะต้องโตแบบแข่งขันได้ และเป็นการแข่งขันกับโลกได้ ซึ่งไม่เพียงแค่แข่งขันระหว่างจังหวัดและจังหวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย และมีความท้าทายหลายด้าน เช่น 1.ส่วนของความหนาแน่น และการกระจายตัวของคนท้องถิ่น ซึ่งมีผลต่ออุปสงค์ที่ไม่โต 2.ธุรกิจท้องถิ่นมีขนาดเล็ก 3.ภูมิรัฐศาสตร์หลากหลาย ทำให้เศรษฐกิจและการเติบโตไม่กว้างและไม่ยั่งยืน
“ใน 3 ความท้าทาย ทำให้โอกาสสร้าง Economy of Scale ยากมากขึ้นในท้องถิ่น เพราะหากต้องการแข่งขันได้ ต้นทุนจะต้องต่ำ ซึ่งต้นทุนจะต่ำได้ ต้องอาศัยขนาด และปริมาณที่มากพอ” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
ดังนั้น หากท้องถิ่นจะก้าวข้ามความท้าทายได้ จะต้องมีองค์ประกอบ คือ 1.ความหนาแน่นของพื้นที่กทม./ปริมณฑลที่มีผลเชิงลบ ทำให้ GDP ชะลอลง 2.นโยบายเน้นกระจายความเจริญ แต่ต้องเป็นการกระจายความเจริญที่มีศักยภาพด้วย เช่น พยายามพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่เป็นในโซนที่ไม่เหมาะสม ทำให้การดึงดูดการลงทุนไม่เหมาะสม ดังนั้น แม้นโยบายมีเจตนาที่ดี แต่ไม่ได้ดูศักยภาพ ซึ่งนโยบายแบบนี้ถือว่า “ไม่ใช่”
ส่วนคำตอบที่ “ใช่” คือ การสร้างท้องถิ่นสากลให้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน จุดเด่นแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ทั้งทรัพยากร และประวัติศาสตร์ แต่จะต้องแข่งขันกับโลกได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ แต่มีมูลค่าสูงขึ้น โดยวิธีการที่ทำให้ท้องถิ่นสากลได้