นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวให้สัมภาษณ์ประเด็นดอกเบี้ยระยะสั้นของแบงก์ชาติที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย พิเศษเฉพาะกับสำนักข่าวนิกเคอิ สื่อชั้นนำระดับโลกจากญี่ปุ่น ว่า ถ้าเรา(แบงก์ชาติ)ลดดอกเบี้ย ก็ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายมากขึ้น หรือทำให้บริษัทจีนนำเข้าปิโตรเคมีจากไทยมากขึ้น หรือทำให้รัฐบาลกระจายงบประมาณเร็วขึ้น ทั้ง 3 ปัจจัยหลักนี้ เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจชะลอตัว
แบงก์ขาติไม่ได้ดื้อรั้น ไม่ได้ดันทุรังเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่สูงสุดในรอบ 10 ปี แต่อยากให้ดูเบื้องหลังของตัวเลขเศรษฐกิจที่บ่งบอกให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจไทยเติบโตซบเซา และตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบ ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีในปี 2566 ที่โตเพียง 1.9% ซึ่งยอมรับว่าผิดจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สาเหตุจากงบประมาณปี 2567 ล่าช้า เพราะการเมืองตกลงกันไม่ได้ การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยอ่อนแอ แต่นั่นก็คือความจริง และยังคงเป็นไปอย่างนี้
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวต่อไปว่า มีความตึงเครียดในทางสร้างสรรค์ระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมักจะมีอยู่ เพราะต่างฝ่ายต่างสวมหมวกคนละใบ ไม่มีเหตุผลที่ว่าทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ นั่นคือสิ่งที่คุณคนทั่วไปต้องเข้าใจว่าต่างฝ่ายต่างมีบทบาทที่แตกต่างกันในการทำงาน
การประชุมตรีงดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ผ่านมา ซึ่งมีกรรมการ 2 เสียงที่ลงมติให้ลดดอกเบี้ยลง 0.25% นั้น ผู้ว่าการแบงค์ชาติกล่าวว่า กรรมการเสียงข้างน้อยมีความกังวลกับปัจจัยที่แปรปวนทางโครงสร้างที่รุนแรงมาก ดังนั้นจึงอาจจะสมเหตุสมผลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ลงมาเข้าใกล้กับสิ่งกรรมการเสียงข้างน้อยมองว่าเป็นจุดที่เหมาะสมใหม่
ทั้งนี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติยอมรับว่า ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของแบงก์ชาติในระดับสูง มีผลกับลูกหนี้ หรือผู้กู้เงิน แต่การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเร็วเกินไป อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินของไทย เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูงถึง 90% ของจีดีพีประเทศ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมาอย่างยาวนาน สิ่งนี้ไปทำให้คนกู้ยืม ดังนั้น ถ้าต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดในแง่มีความพยายามที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระยะยาวต่อไป