ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ในเครือธนาคารทีทีบี เปิดเผยว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือรถบีอีวี 100% ในปี 2023 ของประเทศไทยมีจำนวน 76,361 คัน ส่งผลเพิ่มสูงขึ้นถึง +689% เมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2022 ผ่านไป นอกจากนี้ จำนวนรถอีวีจดทะเบียนทั้งหมดในปี 2023 ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีเพิ่มเป็น 11.6% ของจำนวนรถยนต์จดทะเบียนทั้งหมดในประเทศไทย
ขณะที่ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ในปี 2024 นี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics เปิดเผยว่าส่วนแบ่งตลาดรถอีวีเพิ่มขึ้นอีกเป็น 18.4% ของจำนวนรถยนต์จดทะเบียนทั้งหมดในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ในประเทศไทย สะท้อนถึงความต้องการบริโภครถอีวีในไทยยังคงมีความต่อเนื่อง ในขณะที่ กรมการขนส่งทางบก เปิดเผยยอดจดทะเบียนรถอีวีในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ มีจำนวน 22,333 คัน เพิ่มขึ้น +52.3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับในปีผ่านไป
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics เปิดเผยปัจจัยบวกที่ยังคงทำให้ตลาดรถอีวีขยายตัวในไทยมาจากค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าของรถอีวีที่คิดเป็น 59% – 67% ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงในรถเครื่องยนต์สันดาป สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.72-0.95 บาท/กิโลเมตร ท่ามกลางค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของรถยนต์เครื่องสันดาป หรือรถยนต์เครื่องไฮบริดจะอยู่ที่ระหว่าง 1.82-2.72 บาท/กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในอนาคตของการใช้รถอีวีฝนไทยจะอยู่ที่ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าไฟเอฟที ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆที่จะตามมาภายหลัง ได้แก่ ค่ายางรถอีวี ค่าประกันภัย และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. เปิดเผยยอดขายรถยนต์ภายในประเทศในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มียอดขายจำนวน 30,894 คัน หรือ 55.07% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว -22.70% ประกอบด้วย
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 13,390 คัน หรือ 23.87% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว -48.36%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 4,615 คัน หรือ 8.23% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว -23.38%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 201 คัน หรือ 0.36% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว -8.93%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 12,688 คัน หรือ 22.62% ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว +70.24%
ดังนั้น ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 หรือในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ พบว่ารถยนต์มียอดขาย 163,756 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกัน -24.56% ประกอบด้วย
รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 96,794 คัน หรือ 59.11% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว -8.23%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 41,058 คัน หรือ 25.07% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว -41.44%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 19,131 คัน หรือ 11.68% ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว +43.63%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 563 คัน หรือ 0.34% ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว -22.22%
• รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 36,042 คัน หรือ 22.01% ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว +69.08%
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะรถไฟฟ้าป้ายในเดือนมีนาคม 2567 พบว่ามียอดจดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,436 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคมปีที่แล้ว -15.59% โดยแบ่งเป็น รถอีวีนั่งและรถอีวีประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,983 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2566 -19.91% โดยเฉพาะรถอีวีนั่งจำนวน 4,722 คัน อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถไฟฟ้า หรือรถ BEV เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 หรือในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ พบว่า ยานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) มีจำนวน 29,714 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ในปี 2566 +41.15% โดยแบ่งเป็น รถอีวีนั่งและรถอีวีประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 22,186 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีผ่านไป +51.70% โดยเฉพาะรถอีวีนั่งมีจำนวนสะสม 21,574 คัน