สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำในประเทศไทย วันนี้ 13 เมษายน 2567 เวลา 9.03 น. ดิ่งลง -600 บาท ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 40,650 บาท ราคาขายออก 40,750 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 39,916.28 บาท ราคาขายออก 41,250 บาท ส่งผลเป็นราคาทองคำต่ำสุดในรอบ 2 วันผ่านมา และหยุดทำสถิติราคาทองคำสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ นอกจากนี้ ราคาทองคำแท่งทั้งรับซื้อและขายออกหลุดระดับ 41,000 เป็นครั้งแรกในรอบ 1 วันผ่านมา นอกจากนี้ ทองรูปพรรณรับซื้อหลุดระดับ 40,000 เป็นครั้งแรกในรอบ 1 วันผ่านมา หรือนับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2567
ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาทองคำสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 25 ครั้ง และ 7 ครั้งนับตั้งแต่ต้นปีนี้ และในเดือนเมษายนนี้มาถึงวันนี้ 13 เมษายน 2567 ตามลำดับ ที่สำคัญ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 ทองรูปพรรณรับซื้อแตะระดับ 40,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ และทองคำแท่งแตะระดับ 41,000 บาทเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังทำสถิติราคาสูงสุดระหว่างเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ที่ระดับราคา 41,400 และ 41,900 ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณตามลำดับ ที่สำคัญ นับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงวันที่ 12 เมษายน 2567 ราคทองคำในไทยทะยานขึ้น +7,100 บาท/บาททองคำ หรือทะยานขึ้น +20.79%
ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ อยู่ที่ 2,345.50 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ร่วงหลุดตากสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันมากเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ในเอเชีย ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 36.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ย้อนกลับไปที่ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,336.87 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -35.13 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -1.5% หยุดทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันในคืนผ่านมาพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,419.79 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,374.10 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ -15.90 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ -0.1% หยุดทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ครั้งใหม่
สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)
เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 7 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) และวันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) หน่วย: บาท/บาททองคำ