นีลเส็นไอคิว NiQ ซึ่งบริษัทวิจัยการตลาดด้านผู้บริโภคชื่อดังระดับโลก เปิดรายงานผลสำรวจมีชื่อว่า Consumers Revolution: Understanding Shoppers Today and Tomorrow 2024 โดยเฉพาะข้อมูลสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย เพื่อเจาะลึกภาพรวมพฤติกรรมการช้อปสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภคไทย พบว่าในการซื้อขายสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว หรือ FMCG ในไทย พบว่า ปัจจุบัน ข้อมูลจำนวนร้านค้าปลีกในประเทศไทยมีจำนวน 470,000 ประกอบด้วย อันดับ 1 ร้านโชห่วย 420,000 ร้าน หรือคิดเป็น 89% ของทั้งหมด อันดับ 2 ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้าน Personal Care Store 31,000 ร้าน และอันดับ 3 ร้านสะดวกซื้อ 19,000 ร้าน
รายงานดังกล่าว พบว่า ช่องทางหลัก หรือคิดเป็น 40% ยังคงเป็นร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกกันติดปากว่าร้านโชห่วยที่มีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคประเภท FMCG มากสุดในไทย สาเหตุที่ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก หรือร้านโชห่วย ยังครองความเป็นช่องทางการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคหลักในไทย เนื่องจากร้านโชห่วยมีเสน่ห์ที่แตกต่างจากเครือข่ายร้านขายปลีกขนาดใหญ่ในหลายๆด้าน ได้แก่ ร้านมีความคุ้นเคยกับคนในหมู่บ้าน ชุมชน หรือในละแวกที่ร้านค้าตั้งอยู่ เป็นผลให้ร้านโชห่วยทำให้รู้จัก-รู้ใจลูกค้า
ร้านโชห่วยหลายแห่งนำเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในการคิดเงิน เช่น ระบบ POS มาใช้ในร้าน ร้านมีความคล่องตัว และยืดหยุ่นกว่าเชนค้าปลีกใหญ่ เช่น สามารถขายแบบแบ่งขาย ตอบโจทย์กำลังซื้อและความต้องการของคนในพื้นที่ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา นอกจากนีมี้ ร้านสินค้าหลากประเภท และคัดสินค้าเข้ามาขายในร้าน ตามที่คนในพื้นที่ต้องการ ด้วยความที่โชห่วยรู้จักและรู้ใจลูกค้า