ศุกร์ 13 ตลาดทองคำโลกแตกอีก ทะลุ 2,600 ดอลลาร์ แตะ 2,610 ดอลลาร์ สูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่เป็นวันที่ 2 ติดกัน และครั้งที่ 2 ในกันยายน

ศุกร์ 13 ตลาด ทองคำโลก แตกอีก ทะลุ 2,600 ดอลลาร์ แตะ 2,610 ดอลลาร์ สูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่เป็นวันที่ 2 ติดกัน และครั้งที่ 2 ในกันยายน

ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ก เมื่อคืนวันที่ 13 กันยายน 2024 ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,582.05 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +25.19 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.9% ทำให้ราคาปิดขึ้น 2 วันติดกันรวม +68.86 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +2.7% ส่งผลทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ และเป็นราคาสูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายน

สอดรับกับราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,610.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เพิ่มขึ้น +29.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.2% ส่งผลราคาปิดขึ้น 4 วันติดกันรวม +91.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +3.24% ส่งผลทำสถิติราคาสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ และเป็นราคาสูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายน

ตลาดซื้อขายทองคำโลกในเอเชีย รายงานว่า เมื่องานนี้ 13 กันยายน 2024 เมื่อเวลา 12.15 น. ตามเวลาสิงคโปร์ หรือตรงกับเวลา 11.15 น. เวลาไทย พบว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot เคลื่อนไหวที่ 2,556.86 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +11.04 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.2% เมื่อเทียบกับราคาปิดในคืนผ่านมาที่นิวยอร์ก สหรัฐ ส่งผลทำสถิติราคาส่งมอบทันทีสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ และเป็นราคาสูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกในเดือนกันยายนของตลาดเอเชีย สอดคล้องกับ ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ เคลื่อนที่ระดับ 2,593.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +12.80 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +0.5% ส่งผลทำสถิติราคาล่วงหน้าสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ และเป็นราคาสูงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกในเดือนกันยายนของตลาดเอเชีย

สาเหตุจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงถึง 0.4% ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ด้านตัวเลขเงินเฟ้อผู้ผลิตเดือนสิงหาคมของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา และเพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบจากตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งลดลงจากที่เคยขึ้นไปถึง 2.1% ในเดือนกรกฎาคม ดังนั้น ถือได้ว่าเงินเฟ้อผู้ผลิตในภาพรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของตัวเลขเงินเฟ้อทั้งผู้บริโภคและเงินเฟ้อผู้ผลิตที่ประกาศไปครบแล้วนั้นอยู่ในทิศทางปรับลดลงต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ตัวชี้วัดโอกาสปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 กันยายนนี้เป็น 87% จากเดิมที่ 85% ขณะที่ โอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.5% อยู่ที่ 13% จากเดิมที่ระดับ 41%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles