ส.อ.ท. ย้ำจุดยืนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐควรทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด ยกระด้วยฝีมือแรงงาน ค้านค่าแรง 400 บาท กังวลผลกระทบเศรษฐกิจ

ส.อ.ท. ย้ำจุดยืนปรับ ค่าจ้างขั้นต่ำ รัฐควรทำตามมติอนุกรรมการรายจังหวัด ยกระด้วยฝีมือแรงงาน ค้านค่าแรง 400 บาท กังวลผลกระทบเศรษฐกิจ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จุดยืน ส.อ.ท.ต่อนโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ มี 3 ข้อสำคัญคือ 1.การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำควรปรับตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน 2.ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ด้วยการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน (Pay by Skills) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงานแทนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และ 3.ผลักดันให้รัฐบาลแก้ปัญหาค่าครองชีพ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคแรงงาน ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานให้มีความเหมาะสม และได้เสนอโมเดลการยกระดับฝีมือแรงงานรองรับการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 129 สาขา ด้วย Competency Based Pay รองรับนโยบายการปรับค่าแรงต่อรัฐบาลแล้ว

โดย ส.อ.ท. ขอให้ภาครัฐยึดมติคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยที่ส่งผลกระทบในปัจจุบัน โดยนโยบายขึ้นค่าจ้าง 400 บาทต่อวัน ที่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าฝ่ายนายจ้างไม่ร่วมประชุมนั้น ต้องทำความเข้าใจว่าฝ่ายนายจ้างทุกคนต้องทำงาน การนัดประชุมต้องแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาเตรียมตัว โดยส.อ.ท.ยืนยันการขึ้นจ้างรัฐบาลต้องยึดมติคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด ต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ เพราะประเด็นอัตราค่าจ้าง หลายอุตสาหกรรมนายจ้างจ่ายมากกว่า 400 บาทต่อวันแล้ว แต่ที่กังวลคือผลกระทบต่อเนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ภายในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ซึ่งการขึ้นค่าจ้างต้องควบคู่คุณภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles