ฮ่องกง-ไทเป เส้นทางบินแออัดที่สุดของโลกปี 2024 ไทยติด 2 เส้นทางบินแออัดใน 10 อันดับแรกของโลก แต่ยังไม่ฟื้นเต็ม 100%

โอเอจี (OAG) เปิดเผยรายงาน 10 เส้นทางบิน ที่มีการจราจรแออัดมากที่สุดของโลกประจำปี 2024 พบว่า เส้นทางบินระหว่างฮ่องกงและไทเปขึ้นเป็นอันดับ 1 การจราจรทางอากาศระหว่างประเทศที่แออัดมากที่สุดของโลกในปีนี้ ซึ่งครั้งสุดท้ายที่เส้นทางบินฮ่องกงและไทเปมีปริมาณการจราจรที่แออัดเกิดขึ้นในปี 2019 อย่างไรก็ตาม เส้นทางบินระหว่างประเทศดังกล่าวยังคงฟื้นตัวได้เพียง 85% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19

สำหรับสถิติเส้นทางบินระหว่างประเทศที่มีการจราจรแออัดมากที่สุดในโลกปีนี้ พบว่า 70% หรือ 7 จาก 10 เส้นทางบินล้วนอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ท่ามกลาง จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร จากหลากหลายสายการบินจำนวนมากยังคงไม่ฟื้นตัวกลับไปเหมือนก่อนช่วงเกิดเป็นกิจการโรคระบาด โควิด-19 แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม มี 2 เส้นทางการบิน ระหว่างประเทศใน 10 อันดับแรกซึ่งทั้ง 2 เส้นทางบินอยู่ในภูมิภาคเอเชีแปซิฟิกได้ฟื้นตัวอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา หรือในรอบ 5 ปีผ่านมา ได้แก่ อันดับที่ 2 จาก 10 อันดับแรกของโลกคือเส้นทางบินไคโร(อียิปต์)และเจดดาห์(ซาอุดิอาระเบีย) พบว่ามีจำนวนที่นั่งผู้โดยสารรองรับได้ถึง 5.47 ล้านที่นั่ง ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มมากถึง 62% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 และอันดับที่ 3 เส้นทางกรุงโซล(สนามบินอินชอน)และกรุงโตเกียว(สนามบินนาริตะ) มีจำนวนที่นั่งรองรับผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นถึง 68% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปี 2019

สำหรับประเทศไทยนั้น มี 2 เส้นทางการบินระหว่างประเทศติด 2 จาก 10 อันดับแรกของโลกโดยอยู่ในอันดับที่ 7 เป็นเส้นทางบินระหว่างกรุงเทพและฮ่องกง มีจำนวนที่นั่งรองรับผู้โดยสาร 4.20 ล้านที่นั่ง อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัว 100% ซึ่งยังคงห่างจากช่วงก่อนปี 2019 อยู่อีกประมาณ 13% และอันดับที่ 9 ซึ่งเป็นรองอันดับสุดท้าย เป็นเส้นทางบินระหว่างกรุงเทพและสิงคโปร์ มีจำนวนที่นั่งรองรับผู้โดยสาร 4.03 ล้านที่นั่ง

สำหรับ 10 อันดับแรกเส้นทางการบินระหว่างประเทศที่มีปริมาณการจราจรแออัดมากที่สุดประจำปี 2024 มีดังนี้ (หน่วย:จำนวนที่นั่ง
1.ฮ่องกง-ไทเป 6.78 ล้าน
2.ไคโร-เจดดาห์ 5.47 ล้าน
3.โซลอินชอน-โตเกียวนาริตะ 5.41 ล้าน
4.กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ 5.38 ล้าน
5.โซลอินชอน-โอซาก้า 4.98 ล้าน
6.ดูไบ-ริยาร์ด 4.31 ล้าน
7.กรุงเทพ-ฮ่องกง 4.20 ล้าน
8.จาการ์ตา-สิงคโปร์ 4.07 ล้าน
9.กรุงเทพ-สิงคโปร์ 4.03 ล้าน
10.นิวยอร์กเจเอฟเค-ลอนดอนฮีทโทรว์ 4.01 ล้าน

สาเหตุที่ทำให้เส้นทางการบินระหว่างประเทศในสัดส่วน 70% ล้วนอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจาก สายการบินที่บินระหว่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะจัดสรรและเพิ่มเส้นทางบินที่อยู่นอกเหนือประเทศจีน เพราะ การฟื้นตัวของตลาดการบินของจีนยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้าและยังต่ำกว่าเป้าหมายเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงมีสายการบินใหม่ซึ่งมีจำนวนไม่มากได้เปิดตลาดเส้นทางบินเพิ่มขึ้น เช่นสายการบินอีสท์สตาร์ สายการบินแอร์เจแปน ฮัลโหล นอกจากนี้ ความสามารถในการให้บริการรองรับเที่ยวบินของสนามบินนานาชาติฮาเนดะ ถึงขั้นเต็มเพดานสูงสุด จึงทำให้สนามบินนานาชาตินาริตะต้องเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินจากต่างประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ เส้นทางการบินระหว่างประเทศของกรุงโกลาลัมเปอร์(มาเลเซีย)และ สิงคโปร์ ซึ่งครองอันดับหนึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมานั้น พบว่าในปี 2024 นี้ หล่นร่วงลงมาอยู่อันดับที่ 4 ซึ่งยังคงมีจำนวนที่นั่งผู้โดยสารรองรับต่ำกว่า 3% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาด โควิด-19

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles