เครดิตบูโรเผยยอดแก้หนี้คนไทยก่อนจะเป็นหนี้เสียสูง บัญชีแก้หนี้ก่อนหนี้จะเสียมีเกินครึ่ง มูลค่าเกือบ 90 ล้านบาท

เครดิตบูโรเผยยอดแก้ หนี้ คนไทยก่อนจะเป็นหนี้เสียสูง บัญชีแก้หนี้ก่อนหนี้จะเสียมีเกินครึ่ง มูลค่าเกือบ 90 ล้านบาท

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร โพสต์ข้อความในวันนี้ 27 มิถุนายน 2567 เกี่ยวการเพิ่มเติมข้อมูลสถานการณ์หนี้เสียของไทยสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ปีนี้ มีดังนี้

เมื่อผมได้เปิดเผยข้อมูล​ว่ามีการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันหรือ​ Preemptive Debt Restructure ในเดือนเมษายน​ 2567​ มีจำนวน​ 1.3 แสนบัญชีจำนวนเงินเกือบ​ 9 หมื่นล้านบาท ไหนๆ ก็ไหนๆ​ โพสต์นี้จึงใคร่ขอรายงานเพิ่มสั้นๆ ว่าในเดือนเมษา​ยน​ 2567​ มีการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาหรือปรับโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสีย​ หลังเป็น​ NPLs เฉพาะที่มีการทำสัญญา​ในเดือนเมษา​ 2567​ มีจำนวนประมาณ​ 1 แสนสัญญาครับ​ เป็นเงิน​ประมาณ​ 5.8 หมื่นล้านบาทครับ​ ตัวเลขดังตารางข้างล่างอยากจะเห็นตัวเลขการเร่งแก้ไขให้คนที่เริ่มไม่ไหว​แต่ยังไม่เสีย บวก​ คนที่ไม่ไหวไปแล้ว​ เสียไปแล้ว​ ก็เอาตารางที่​โพสต์​ครั้งนี้บวกโพสต์​ครั้งก่อนหน้านะครับ​

จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า บัญชีปรับโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสียแล้วมี 100,770 บัญชี มูลค่า 57,559,682,497 บาท ขณะที่ บัญชีปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสีย มี 128,875 บัญชี มูลค่า 89,669,055,474 บาท ส่งผลให้บัญชีปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียคิดเป็น 56% ของจำนวนบัญชีปรับโครงสร้างหนี้โดยรวมทั้งหมดที่ 229,645 บัญชี ด้านมูลค่าบัญชีปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียคิดเป็น 61% ของมูลค่าบัญชีปรับโครงสร้างหนี้โดยรวมทั้งหมดที่ 147,228,737,971 บาท

ก่อนหน้านี้ในวันนี้เดียวกัน ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร โพสต์ข้อความดังนี้

ยอดการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันที่สถาบันการเงินคนให้กู้แจ้งเข้ามาในระบบของเครดิตบูโรตั้งแต่เมษา​ 2567​ หรือที่เรียกกันว่า​ DR.​ หรือภาษาชาวบ้านคือ​ การปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสีย, การปรับโครงสร้างหนี้เพื่อไม่ให้กลายเป็นหนี้เสีย​ หรือ​ Preemptive Debt Restructure จำนวนที่มีการรายงานเข้ามาอยู่ที่​ประมาณ​ 1.3 แสนบัญชีจำนวนเงินประมาณ​ 9 หมื่นล้านบาทนั้น

เงื่อนไขสำคัญคือวันที่ลงนามในสัญญา, ข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันหรือ​ DR หรือ​ Preemptive Debt Restructure นี้จะต้องเกิดตั้งแต่​ 1 เมษายน​ 2567​ เป็นต้นไป​ (เกิดก่อนหน้าถ้ามีมาก่อนไม่ให้มีการรายงาน) ความหมายแบบบ้านๆ คือ​ มีการตกลงปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียในเดือนเมษายน​ 2567 เป็นต้นไปนั้นมียอดตั้งต้นเดือนแรกที่รายงานเท่าใด

อาจมีความเข้าใจผิดว่ายอดตัวเลขนี้คือการปรับโครงสร้างหนี้ที่รวมกันไปหมดระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา, Trouble Debt Restructuring หรือ​ TDR. กับ​ Preemptive Debt Restructuring นะครับ​ ผมต้องขอโทษด้วย​อย่างแรง(เข้าใจว่า​ DR=TDR+Preemptive DR)

ข้อมูล​ประมาณ 1.3​ แสนบัญชีมูลค่าประมาณ​ 9 หมื่นล้านบาทที่ปรากฎในข่าวคือ​ตัวเลข​ Preemptive Debt Restructuring ครับ​ ภาษาไทยคือ​ การปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน, การปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียนะครับ​ ยอดที่แสดงจึงทำให้เห็นว่ามาตรการเร่งรัดให้ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาไปจัดการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันนี้กับเจ้าหนี้แค่เดือนแรกที่มีการรายงานมันสูงพอควร​

ที่ผ่านมาก่อนมีตัวเลขนี้มันไม่มีการรายงาน​ครับผม มันมีรายการ​ Preemptive Debt Restructure เกิดขึ้นมากมายแต่ไม่ให้มีการรายงานงัยครับ​ มันถึงมองไม่เห็นอาการคนที่เริ่มไม่ไหว​ มันมีแต่ตัวเลขคนที่ไม่ไหวและกลายเป็นหนี้เสียไปแล้วจากนั้นก็ไปทำ​ TDR.ซึ่งยอดสะสมมันทะลุ​ 1ล้านล้านบาทไปแล้ว​

การเร่งรัดให้เจ้าหนี้ลงไปช่วยลูกหนี้แบบเป็นคำสั่งที่ต้องทำมันจึงดีกว่าขอความร่วมมือ​แน่นอน เรื่องที่น่าคิดคือ​ ถ้าเรามีความโปร่งใส​ เปิดเผย​ ก่อนหน้านี้จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนอย่างมีพลังใช่หรือไม่​ เพราะสังคมจะตระหนักว่าเราไม่ได้มีปัญหา​คนเดียว​ มีปัญหาต้องเร่ง​แก้ไข​ก่อนมันจะลุกลามเป็นหนี้เสีย

ตัวเลขคือตัวเลข​ ทุกๆ บัญชีมันมีชีวิตคนติดอยู่ ป่วยการจะมาเคลียร์​ว่ามันเพิ่มลดเพราะเทคนิค​ หรือไม่ต้องตกใจเพราะอดีตทำมามาก​ ก็อดีตไม่เคยบอกเป็นตัวเลขที่ชาวบ้านอ่านออก​ เข้าใจได้​ ติดตามได้​งัยครับ​

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles