สำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผย รายงานภาวะหนี้ครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานรวม 20 จังหวัดในปี 2566 ในภาพรวมพบว่า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีจำนวนครัวเรือน ซึ่งมีหนี้สินในสัดส่วนที่สูงสุดของประเทศไทยถึง 60.8% หนี้สินประเภทเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนในภาคอีสานเป็นประเภทหนี้สินที่มีการก่อหนี้ที่มากที่สุดนอกจากนี้ ภาวะหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยและสัดส่วนหนี้ครัวเรือนกลับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในปี 2566 หนี้ครัวเรือนเฉลี่ยทั้งภาคอีสานอยู่ที่ 208,481 บาท
รายงานดังกล่าว พบว่า 5 จังหวัดแรกที่มีหนี้ครัวเรือนโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในปี 2566 มีดังนี้ 1.จังหวัดอำนาจเจริญ 337,610 บาท 2.จังหวัดนครราชสีมา 303,257 บาท 3.จังหวัดสุรินทร์ 290,152 บาท 4.จังหวัดมุกดาหาร 285,176 บาท และอันดับ 5.จังหวัดหนองบัวลำภู 260,061 บาท
ขณะที่ 5 จังหวัดท้ายสุดที่มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยน้อยที่สุดใน 20 จังหวัดภาคอีสานประจำปี 2566 ได้แก่ อันดับ 20.จังหวัดขอนแก่น 62,884 บาท อันดับ 19.จังหวัดอุดรธานี 105,266 บาท อันดับ 18.มหาสารคาม 154,313 บาท อันดับ 17. จังหวัดร้อยเอ็ด 161,510 บาท และอันดับ 16. จังหวัดกาฬสินธุ์ 164,052 บาท
สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะหนี้ครัวเรือนในภาคอีสาน มาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 43.9% เป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อ หรือเช่าซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ถัดมา 25.3% เป็นการกู้ยืมเพื่อทำการเกษตร และ 21.3% เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยระหว่างอันดับที่ 6 ถึงอันดับที่ 15 มีดังนี้ อันดับ 6. จังหวัดเลย 257,883 บาท อันดับ 7.จังหวัดศรีสะเกษ 238,414 อันดับ 8.จังหวัดสกลนคร 221,537 บาท อันดับ 9.จังหวัดชัยภูมิ 203,222 บาท อันดับ 10.จังหวัดอุบลราชบุรี 202,806 บาท อันดับ 11.จังหวัดนครพนม 193,929 บาท อันดับ 12.จังหวัดหนองคาย 193,443 บาท อันดับ 13.จังหวัดบึงกาฬ 189,019 บาท อันดับ 14.จังหวัดบุรีรัมย์ 177,744 บาท อันดับ 15.จังหวัดยโสธร 167,342 บาท