เปิดสงครามภาษีสหรัฐล้อมไทย ภาษีต่างตอบแทน 36% ภาษีขั้นพื้นฐาน 10% ภาษี 25% ไทยส่งเหล็ก-รถยนต์ สหรัฐขู่เก็บภาษีอีก 10% ประเทศในกลุ่มบริคส์(BRICKS) สหรัฐย้ำถ้าไทยขึ้นภาษีตอบโต้ สหรัฐขึ้นภาษีสูงอีก

เปิดสงคราม ภาษีสหรัฐ ล้อมไทย ภาษีต่างตอบแทน 36% ภาษีขั้นพื้นฐาน 10% ภาษี 25% ไทยส่งเหล็ก-รถยนต์ สหรัฐขู่เก็บภาษีอีก 10% ประเทศในกลุ่มบริคส์(BRICKS) สหรัฐย้ำถ้าไทยขึ้นภาษีตอบโต้ สหรัฐขึ้นภาษีสูงอีก

สถานการณ์มาตรการภาษีและการค้าของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี นายโดนัลด์ทรัมป์ กับประเทศไทย หลังจากที่ในเช้าตรู่วันนี้ 8 กรกฎาคมตามเวลาไทยที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ส่งจดหมายเกี่ยวกับการประกาศอัตราภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariffs กับประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความเคลื่อนไหวด้านมาตรการภาษีและการค้าครั้งล่าสุดกับประเทศไทย ที่สำคัญระบุชัดเจนว่า หากประเทศไทยปรับขึ้นอัตราภาษีกับสหรัฐอเมริกาในลักษณะการตอบโต้อัตราภาษีดังกล่าวรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะปรับขึ้นอัตราภาษีสูงขึ้นอีกกับประเทศไทยนั้น

ทำให้อัตราภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลถึงวันนี้ 8 กรกฎาคม 2025 ประกอบด้วย 1.อัตราภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariffs ที่ 36% โดยอัตราภาษีต่างตอบแทนจะมีผล 1 สิงหาคม 2025 ซึ่งสหรัฐอเมริกายังเปิดโอกาสการเจรจาให้ไทยในอีก 3 สัปดาห์ที่เหลือจากวันนี้ไป 2.อัตราภาษีขั้นพื้นฐาน หรือ Base Line ในการนำเข้าสินค้าจากไทยที่ 10% 3.อัตราภาษีนำเข้าสินค้าประเภทเหล็กอะลูมิเนียมรถยนต์ที่ไม่ได้ผลิตภายในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ 25% 4. อัตราภาษีนำเข้ารายสินค้า และรายอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบังคับใช้มาก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นกับการที่จะต้องถูกเก็บอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมขึ้นอีก 10% หลังจากที่เมื่อวานนี้ 6 กรกฎาคม 2025 ตามเวลาในประเทศสหรัฐอเมริกา นาย โดนัลด์ เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนสื่อโซเชียล มีดังนี้ ประเทศใด ๆ ก็ตามที่ผูกติดกับนโยบายของประเทศตนเองในการต่อต้านอเมริกาของกลุ่มพันธมิตรการค้า BRICS สหรัฐอเมริกาจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมขึ้น 10% จะไม่มีข้อยกเว้นสําหรับนโยบายนี้

กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา 9 ประเทศ ได้แก่ เบลารุส, โบลิเวีย, อินโดนีเซีย, คาซัคสถาน, ไทย, คิวบา, ยูกันดา, มาเลเซีย และอุซเบกิสถาน ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตร BRICS อย่างเป็นทางการ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการพัฒนากลุ่ม BRICS หลังจากการขยายตัวครั้งประวัติศาสตร์ นอกจาก 9 ประเทศดังกล่าว สมาชิกก่อนหน้านี้ของกลุ่ม BRICS ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน, แอฟริกาใต้, อิหร่าน, อียิปต์, เอธิโอเปีย, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2024 กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากรัสเซีย ในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ปี 2567 ว่า ไทยจะเข้าร่วมเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป การเข้าเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างไทยกับ BRICS ซึ่งไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมและการประชุมในกรอบ BRICS Plus มาตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อปี 2560 และจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก BRICS ซึ่งเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles