ซูเปอร์โพล ซึ่งเป็นสำนักวิจัยในไทย เปิดเผยรายงานผลสำรวจเรื่อง จำนวนคนไทยในวิกฤตการเงิน ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 1,146 ราย ช่วงระหว่างวันที่ 7–10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา มีดังนี้ กลุ่มประชากรคนไทยอายุ 16–85 ปีมีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 53,417,480 คน ระบุว่าสถานะการเงินในกระเป๋าของตนเองอยู่ในขั้นวิกฤต โดยพบว่าเกือบ 27 ล้านคน คือ จำนวน 26,975,827 คน หรือ 50% ของจำนวนดังกล่าวยอมรับว่าเงินในกระเป๋าของตนเองอยู่ในขั้นวิกฤต อีก 49.5% ระบุไม่อยู่ในขั้นวิกฤต
ในด้านรายภูมิคาค พบว่า ประชาชนในภาคอีสานส่วนใหญ่หรือ 77.9% ยอมรับว่าการเงินในกระเป๋าอยู่ในขั้นวิกฤตมากที่สุด อันดับ 2 มี 66.3% เป็นประชาชนภาคใต้ อันดับ 3 มี 47.2% เป็นชาวภาคกลาง อันดับ 4 มี 35.8% เป็นคนภาคเหนือ และอันดับ 5 มี 30.8% เป็นคนกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงข้อกังวล ถ้ามีการแจกเงินดิจิทัลจริง พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 32.7 กังวลต่อความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ พวกมิจฉาชีพ ออนไลน์ รองลงมาคือร้อยละ 32.7 เช่นกัน กังวลภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของราคาแพง ร้อยละ 30.7 กังวลการทุจริตเชิงนโยบาย ร้อยละ 24.2 กังวลการสวมสิทธิ์ ร้อยละ 22.6 กังวลความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย ร้อยละ 21.7 กังวล ประชาชนเสียวินัยการเงิน ขาดความรับผิดชอบ ร้อยละ 19.2 กังวล ประชาชนผู้ห่างไกล เทคโนโลยี เข้าไม่ถึงการแจกเงินนี้ และร้อยละ 14.9 กังวลประเทศสูญเสียโอกาสพัฒนาที่ยั่งยืนตามลำดับ