แบงก์ชาติ ยันอีกเสียงไทยยังไร้สัญญาณเงินฝืด แม้เงินเฟ้อระยะสั้นเสี่ยงหลุดกรอบ ส่วนคืบหน้าเจรจาสหรัฐฯ-จีน ลดความตึงเครียด มีผลเชิงบวกต่อไทย

แบงก์ชาติ ยันอีกเสียงไทยยังไร้สัญญาณเงินฝืด แม้ เงินเฟ้อ ระยะสั้นเสี่ยงหลุดกรอบ ส่วนคืบหน้าเจรจาสหรัฐฯ-จีน ลดความตึงเครียด มีผลเชิงบวกต่อไทย

นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ภาพรวมสินเชื่อโดยรวมหดตัว ไม่ปรับดีขึ้น โดยสินเชื่อหดตัว -0.5% ทางด้านคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อเอสเอ็มอี และคุณภาพสินเชื่อบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี สินเชื่อและหนี้เสียขยายตัวสอดคล้องกับ Credit Risk ดังนั้น นโยบายการเงินปรับตัวสอดคล้องกับ outlook ระยะข้างหน้า และความเสี่ยงระยะข้างหน้า โดยนโยบายการเงินอยู่ฝนลักษณะผ่อนคลาย อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องติดตามระยะถัดไป คือ ผลของการเจรจา และติดตามระยะยาวเรื่องของการปรับตัว ทั้งะดับ Micro และการเปลี่ยนแปลงระดับ Macro ด้วย

นายสุรัช กล่าวถึงภาพรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้และปีหน้ามีโอกาสลดต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 1-3% จาก Supply Shock ของราคาน้ำมันในตลาดโลก และมาตรการค่าครองชีพ โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวไม่ได้สะท้อนภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อระยะปานกลางยังยึดอยู่ในกรอบ

ทั้งนี้ หากดูเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลาง จากการสำรวจใน 5 ปีข้างหน้า และปีที่ 6-10 เงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6% รวมถึงเครื่องชี้วัดในตลาดการเงินอื่นเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7% จากกรอบ 1-3% แม้ว่าเงินเฟ้อระยะสั้นจะปรับลดลงมาจาก Supply Side Shock ขณะเดียวกัน หากดูราคาสินค้าในตระกร้าเงินเฟ้อ 430 รายการ และในสินค้าและบริการ 80 หมวด การเปลี่ยนแปลง พบว่า 2 ใน 3 ที่ปรับลดลง และ 2 ใน 3 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือปรับเพิ่มขึ้น จึงไม่สะท้อนภาวะเงินฝืด

ส่วนภาพรวมการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน นั้น นางปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า ภาพรวมการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีการลดภาษีสินค้านำเข้า (Reciprocal Tariffs) และเลื่อนการขึ้นภาษีออกไปอีก 90 วันนั้น ช่วยลดความตึงเครียดและมีผลเชิงบวกกับเศรษฐกิจโลกและไทย ซึ่งดีกว่าที่ ธปท.ประเมินฉากทัศน์ไว้ โดยผลเชิงบวกต่อไทย คือ การค้าโลกไม่ลดลง ซึ่งไทยเป็นซัพพลายเชนของจีน และจีนส่งออกไปสหรัฐฯ เร็วขึ้นก่อนครบกำหนด 90 วัน ส่งผลให้สินค้าที่จะเข้าไทย และสินค้าที่จะมีการแข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดอื่นปรับลดลง

ทั้งนี้ ทิศทางเศรษฐกิจไทยปรับลดลง โดยจากการประเมินฉากทัศน์ปีนี้อาจเติบโตได้ราว 2% และกรณีเลวร้ายอาจเหลือ 1.3% โดยความเสี่ยงมาจากภาคต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น ซึ่งสัญญาณกระทบการลงทุนชะงักจากความไม่แน่นอน มูลค่าการส่งออกปรับลดลง แต่สินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงจากดีมานด์โลกชะลอ แต่เบื้องต้น sector ที่ได้รับผลกระทบ จะเป็น ยางล้อ และชิ้นส่วนรถยนต์ เนื่องจากมีการเก็บภาษีอัตรา 25% ไปก่อนหน้า

แต่สิ่งที่ห่วง คือ sector ที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าทะลักเข้ามา เช่น เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีปัญหาในเรื่องโครงสร้าง ซึ่งจะยิ่งเปราะบางมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามพัฒนาการของการเจรจาของไทยและประเทศอื่น และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ

“โดยรวมการเจรจาสหรัฐฯ และจีน มีผลบวกต่อเศรษฐกิจไทย 0.1% อย่างไรก็ดี ต้องรอดูผลหลัง 90 วัน เพราะเป็นการลดชั่วคราว รวมถึงผลการเจรจากับประเทศอื่นด้วย ทำให้ 2 ฉากทัศน์ที่ประเมินไว้มีความเป็นไปได้ หรือเปลี่ยนแปลงขึ้นกับผลการเจรจาและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต”

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles