โฟล์คสวาเก้น เอจี อาจปิดโรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์ Audi ในเบลเยียมถาวร ตลาดรถอีวีหรูหราตกต่ำต่อเนื่อง

โฟล์คสวาเก้น เอจี อาจปิดโรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์ Audi ในเบลเยียมถาวร ตลาดรถอีวีหรูหราตกต่ำต่อเนื่อง

โฟล์คสวาเก้น เอจี ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี และในยุโรป เปิดเผยว่า บริษัทอาจตัดสินใจปิดโรงงานผลิตรถยนต์แบรนด์อาวดี้ (Audi) ที่ประเทศเบลเยียม หากคณะกรรมการของบริษัทฯ ตัดสินใจดังกล่าวจริง จะกลายเป็นการปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของโฟล์คสวาเก้น เอจี ครั้งแรกในรอบเกือบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1988 ซึ่งเป็นปีที่โฟล์คสวาเก้น เอจี ปิดโรงงานเวสท์มอร์แลนด์ ในรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ แหล่งข่าวในโฟล์คสวาเก้น เอจี และอาวดี้ (Audi) ที่เยอรมนี เปิดเผยว่า อาจยุติการผลิตรถอีวีแบรนด์อาวดี้รุ่น Q8 อีตรอน ภายในปี 2025

สาเหตุจากตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือรถอีวีในกลุ่มตลาดรถยนต์อีวีหรูหราซบเซาอย่างมากและต่อเนื่อง หลังจาก โฟล์คสวาเก้น เอจี ทุ่มเม็ดเงินในการลงทุนเพื่อผลิตรถอีวีในตลาดรถหรูหราเป็นจำนวนมากมาย เช่น เงินลงทุนด้านพัฒนาเทคโนโลยี เงินลงทุนด้านการขยายกำลังการผลิต ในขณะที่แบรนด์อาวดี้ เปิดเผยในช่วงต้นปีนี้ผ่านมาว่า ยอดขายรถยี่ห้ออาวดี้จะตกต่ำลงจากภาวะตลาดรถอีวีหรูหราที่ชะลอตัว ท่ามกลางการความพยายามในการพัฒนาและเปิดตัวรุ่นใหม่ด้วยการควบคุมค่าใช้จ่าย

โรงงานผลิตรถยนต์อาวดี้ของโฟล์คสวาเก้น เอจี ในประเทศเบลเยียม มีการจ้างงานในปัจจุบันที่ 3,000 คน ในปีผ่านมา สามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 50,000 คัน โรงงานแห่งนี้ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตรถยนต์ดั้งเดิม รวมถึงที่ตั้งของโรงงานดังกล่าวที่มีต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายในการขนส่งชิ้นส่วน และรถยนต์ที่ผลิตสำเร็จออกมาด้วย

โฟล์คสวาเก้น เอจี เปิดเผยว่า ต้นทุนในการพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ทุกรูปแบบ หรือการปิดโรงงานผลิตรถยนต์ของโฟล์คสวาเก้น เอจี ในประเทศเบลเยียมนั้น จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น 2,600 ล้านยูโร หรือ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 103,600 ล้านบาทในงบประมาณปี 2024

สถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลไปถึงการปรับลดเป้าหมายคาดการณ์การทำกำไรของแบรนด์ปอร์เช่ (Porches) ซึ่งเป็นแบรนด์ซุปเปอร์คาร์ของโฟล์คสวาเก้น เอจี โดยลดลงมาอยู่ระหว่าง 3,500-5,500 ล้านดอลลาร์ยูโร หรือกว่า 137,550-216,150 ล้านบาท

ทั้งนี้ โฟล์คสวาเก้น เอจี ประสบกับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 โดยเฉพาะกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน พบว่า ที่ขาดทุนลงมากถึง 20% ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากความล่าช้าในการจัดส่งมอบรถอาวดี้ เนื่องจากโรงงานดังกล่าวต้องปิดโรงงานชั่วคราวถึง 2 สัปดาห์จากปัญหาชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ขาดแคลนในเดือนกุมภาพันธุ์ผ่านมา

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles