ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยเสี่ยงถูกประเทศสหรัฐอเมริกาเก็บภาษีตอบโต้ หรือภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal tariffs) สูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน สาเหตุจากเมื่ออัตราภาษีตอบโต้คาดว่าเก็บจากส่วนต่างอัตราภาษี MFN ระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า รวมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) นั้น ประเทศไทยอยู่ในอัตราภาษีเกือบ 15% อันดับ 2 เวียดนาม อันดับ 3 อินโดนีเซีย อันดับ 4 ฟิลิปปินส์ อันดับ 5 มาเลเซีย อันดับ 6 ญี่ปุ่น อันดับ 7 เกาหลีใต้ อันดับ 8 เมียนมา อันดับ 9 สิงคโปร์ อันดับ 10 ไต้หวัน
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ผ่านมา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลงนามในคำสั่งบริหารใช้มาตรการภาษีเท่าเทียม หรือภาษีต่างตอบแทน ซึ่งมีอัตราภาษีระหว่าง 10 ถึง 20% บังคับใช้กับทุกประเทศทั่วโลกที่มีการเก็บภาษีส่งออกสินค้าสหรัฐ ในเวลาต่อมา โพสต์ข้อความว่า สำหรับการค้าระหว่างสหรัฐ ผมได้ตัดสินใจเพื่อเป้าหมายความเป็นธรรม ในการที่สหรัฐจะเก็บภาษีเท่าเทียม หมายถึงประเทศคู่ค้าใดก็ตามที่เก็บภาษีส่งออกสินค้าสหรัฐรัฐบาลสหรัฐก็เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศนั้นด้วย ไม่มากเกินไปแล้วก็ไม่น้อยเกินไป
ประธานาธิบดีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในบันทึกภายในไปยังบรรดาเจ้าหน้าที่คณะทำงานให้ ทำการคำนวณอัตราภาษีเท่าเทียม เพื่อที่จะมีอัตราเท่ากับทุกประเทศที่เป็นคู่ค้าของสหรัฐ และเตรียมมาตรการตอบโต้กับมาตรการกีดกันสินค้าที่มาอยู่ในรูปแบบภาษีจากประเทศคู่ค้าของสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประธานาธิบดีนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะลงนามในคำสั่งดังกล่าว แต่พบว่ายังไม่มีการประกาศบังคับใช้ แม้จะเป็นโดยทันทีหรือกำหนดระยะเวลาก็ตาม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2025 ประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า อาจจะเป็นวันที่ 2 เมษายน ผมอยากจะลงนามสั่งวันที่ 1 เมษายน แต่คิดว่าจะเป็นวันที่ 2 เมษายนนี้ สำหรับมาตรการเก็บภาษีนำเข้าชุดต่อไปที่จะประกาศใช้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากคณะทำงานด้านภาษีสินค้านำเข้าได้ส่งสรุปรายงานมาให้เป็นที่เรียบร้อยหลังจาก เมื่อวานนี้ได้ลงนามในแผนการจัดเก็บภาษีเท่าเทียมหรือภาษีต่างตอบแทนระหว่าง 10 ถึง 20% กับทุกประเทศทั่วโลกที่เก็บภาษีส่งออกสินค้าจากสหรัฐอเมริกา